คลองรังสิต อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี

เชื่อมคลองเป็นแก้มลิง

          ทุ่งรังสิต บริเวณคลอง 8 คลอง 9 คลอง 10 แต่เดิมเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ทำนา ทำสวน ในปี พ.ศ. 2527 เกษตรกรได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่นามาเป็นร่องสวน เพื่อปลูกส้ม ต่อมาเกิดโรคส้มระบาด และมีปัญหาดินเปรี้ยว ทำให้เกษตรกรต่างเป็นหนี้ธนาคารกันมากมาย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจการเกษตรจึงแนะนำให้เปลี่ยนจากส้มมาปลูกปาล์มน้ำมันแทน เพราะให้ผลผลิตต่อไร่สูง ปลูกในพื้นที่ดินเปรี้ยวได้ แถมต้นปาล์มยังชอบน้ำ ทนสภาพน้ำท่วมขังได้นานเป็นเดือน เกษตรกรจึงนำปาล์มน้ำมันมาปลูกในพื้นที่ร่องสวนส้มเดิม จนมีรายได้ สามารถนำไปปลดหนี้สินได้

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
          ปี พ.ศ. 2554 เกิดน้ำท่วมใหญ่ ชาวชุมชนรังสิตรวมตัวกันป้องกัน ด้วยการปล่อยให้น้ำไหลผ่านพื้นที่ และเสริมคันดินกั้นริมคลอง ทำให้พื้นที่เพาะปลูกไม่ได้รับความเสียหายและปาล์มน้ำมันยังให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมาก ในปีต่อมา ชุมชน 4 ตำบล จึงร่วมกันพัฒนาร่องสวนคลองหลัก คลองซอย ให้กักเก็บน้ำได้มากขึ้น และเชื่อมต่อคลองชลประทาน เป็นพื้นที่แก้มลิงแบบเพิ่มรายได้ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 1 แสนไร่ ซึ่งพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภามีพระกรุณาธิคุณ ทรงสนับสนุนแนวทางการบริหารจัดการน้ำของชุมชนคลองรังสิต ประทานเงินบริจาคของวิทยาลัยกระบวนการยุติธรรม ให้สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สสนก. ดำเนินโครงการแก้ปัญหาอุทกภัย และพัฒนาพื้นที่เกษตรทุ่งรังสิต ให้เป็นพื้นที่แก้มลิงแบบเพิ่มรายได้ ด้วยการพัฒนาโครงสร้างน้ำและระบบบริหารจัดการน้ำ พัฒนาพื้นที่สวนปาล์มน้ำมันให้ลึกขึ้น เพื่อกักเก็บน้ำไว้ในร่องสวน ช่วยให้ชาวสวนปาล์มมีผลผลิตเพิ่มขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้นและยังบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในอนาคตได้ด้วย
          ปี พ.ศ. 2556 มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เข้าไปสนับสนุนการดำเนินงานของชุมชน ขยายแนวคิดและผลสำเร็จไปยังพื้นที่ข้างเคียง อีก 4 ตำบล รวมเป็น 8 ตำบล ครอบคลุมพื้นที่กว่า 2 แสนไร่

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
          นายอักษร น้อยสว่าง ชาวหนองเสือ ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการบริหารจัดการน้ำชุมชนคลองรังสิต (คลอง 8 คลอง 9 คลอง 10 ) อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เล่าว่า มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ แนะนำให้ชุมชนสำรวจพื้นที่ของตนเอง นำแผนที่มาดูเส้นทางน้ำ ว่าน้ำไหลมาจากไหน ไหลผ่านไปทางไหน ทำให้เรารู้ว่าในร่องสวนสามารถใช้กักเก็บน้ำได้ และช่วยหน่วงน้ำได้ในช่วงที่มีน้ำมาก ส่วนตะกอนดินเลนที่มีอยู่มากมายในร่องสวนก็ควรดูดขึ้นมา เพื่อให้ร่องสวนมีความลึกขึ้น เก็บกักน้ำได้มากขึ้น ชาวบ้านจึงช่วยกันคิดประดิษฐ์เรือดูดตะกอนดินเลนขึ้นมาใช้ ซึ่งนอกจากช่วยให้ร่องสวนเก็บกักน้ำได้มากขึ้นแล้ว ดินเลนที่ดูดขึ้นมา ยังนำมาใช้เป็นปุ๋ยช่วยให้พืชเจริญเติบโตอีกด้วย

สภาพปัญหา

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

          ชุมชนตำบลบึงชำอ้อ ตั้งอยู่ที่ตำบลบึงชำอ้อ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีพื้นที่ทั้งหมด 34,048 ไร่ ประชากรจำนวน 8,926 คน มีพื้นที่ทำเกษตร จำนวน 27,601 ไร่ ประกอบด้วยไม้ผลไม้ยืนต้น 12,269 ไร่ (ร้อยละ 44.4) นาข้าว 11,438 ไร่ (ร้อยละ 41.4) พืชผัก 3,248 ไร่ (ร้อยละ 11.8) และพืชไร่ 646 ไร่ (ร้อยละ 2.3)

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
          เป็นเวลาหลายสิบปีที่ชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่คลองรังสิตพยายามค้นหาวิธีปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2527 เกษตรกรได้ปรับพื้นที่นา มาเป็นร่องสวนเพื่อปลูกส้ม แต่ก็ประสบกับปัญหาโรคส้มระบาดรุนแรง ในปี พ.ศ. 2534 ทำให้ชาวสวนส้มเป็นหนี้สินมากมาย ปี พ.ศ. 2547 ชุมชนเริ่มหันมาปลูกปาล์มน้ำมันทำให้มีรายที่ดีขึ้น  3 ปีต่อมาชาวสวนปาล์ม สามารถขายปาล์มน้ำมันจนปลดหนี้สินได้ อย่างไรก็ตามชุมชนยังคงประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เนื่องจากคลองตื้นเขินและขาดการบำรุงรักษาคลอง อันเป็นอุปสรรคในการขยายสวนปาล์ม ทั้งนี้เกิดความท้าทายจากเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรง ในปี พ.ศ. 2554 และต่อมาเกิดความเสียหายของตลิ่งและถนนริมคลอง

แนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหา

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

          ในปี พ.ศ. 2555 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงให้การสนับสนุนแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชนคลองรังสิต โดยประทานเงินบริจาคของวิทยาลัยกระบวนการยุติธรรม ให้สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สสนก. ดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัย พัฒนาพื้นที่เกษตรทุ่งรังสิต ให้เป็นพื้นที่ดำเนินงานแก้มลิง แบบเพิ่มรายได้ พัฒนาพื้นที่ร่องสวนปาล์มน้ำมันให้ลึกขึ้นเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ ซึ่งช่วยให้ชาวสวนปาล์มมีผลผลิตและรายได้เพิ่มขึ้น

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
          สสนก. และมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้สนับสนุนให้ชุมชนคลองรังสิต จัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ดำเนินงานวิเคราะห์สมดุลน้ำ และออกแบบระบบบริหารจัดการน้ำรูปแบบใหม่ที่เหมาะสมกับพื้นที่ร่องสวนปาล์ม รวมทั้งขุดลอกคลองหลักและคลองซอยให้เชื่อมโยงถึงกัน ปรับปรุงบ่อพักน้ำและซ่อมแซมประตูน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ กักเก็บและระบายน้ำรวมถึงปลูกพืชผักสวนครัวบริเวณร่องสวนปาล์มน้ำมัน เรือดูดตะกอนเลนที่คิดค้นโดยชุมชน ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักไว้ในพื้นที่แก้มลิงในร่องสวนปาล์ม และแหล่งน้ำสำหรับพื้นที่เกษตรในฤดูแล้ง รวมทั้งได้ปลูกต้นปาล์มน้ำมันตามแนวคลอง เพื่อป้องกันตลิ่งพังทลายและสิ่งก่อสร้างริมคลอง นอกจากนี้ ชุมชนได้ปลูกปาล์มน้ำมัน ควบคู่กับการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องและยั่งยืน

การเปลี่ยนแปลง

          การขุดลอกคลองหลักและคลองซอยความยาว รวม 131 กิโลเมตร เชื่อมต่อกับบ่อพักน้ำและประตูน้ำที่ได้รับการปรับปรุง รวม 94 จุด ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการกักเก็บน้ำและระบายน้ำ เรือดูดเลนช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในแก้มลิงในร่องสวนปาล์มและเปิดร่องส่งน้ำให้กับพื้นที่เกษตรในฤดูแล้ง ในช่วงพายุแกมี (GAEMI) เมื่อปี พ.ศ. 2555 คลองรังสิตสามารถกักเก็บน้ำได้มากกว่า 17 ล้านลูกบาศก์เมตร ช่วยให้กรุงเทพมหานครและภาคกลางของประเทศไทยรอดพ้นจากน้ำท่วม และในฤดูแล้งปี พ.ศ. 2556 ได้ใช้เรือดูดตะกอนเลนขุดลอกเปิดทางน้ำให้กับพื้นที่เกษตร 6,000 ไร่

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
          จากการดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ. 2560 ได้เกิดระบบเชื่อมต่อโครงสร้างชลประทานกับร่องสวน สามารถกระจายน้ำเข้าสู่พื้นที่ร่องสวนปาล์มน้ำมันกว่า 22,632 ไร่ สามารถเป็นแก้มลิงรองรับน้ำกว่า 14.82 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำเพื่อการเกษตรทั้งระบบ 29.0 ล้าน ลบ.ม. ผู้ได้รับประโยชน์ 6,400 ครัวเรือน 21,000 คน พื้นที่การเกษตร 52,000 ไร่ อีกทั้งพัฒนาศักยภาพกักเก็บน้ำในพื้นที่แก้มลิงทั้งหมดคือ คลอง ร่องสวน บ่อดิน ให้เป็นแหล่งน้ำสำรองในฤดูแล้งหรือช่วงประสบภัยธรรมชาติ ป้องกันน้ำเค็มรุก และช่วงหน่วงน้ำกว่า 137 ล้าน ลบ.ม.
          ชุมชนร่วมกันปลูกต้นปาล์มน้ำมัน จำนวน 13,000 ต้น ริมคลอง ระยะทาง 72.8 กิโลเมตร ช่วยป้องกันการพังทลายของตลิ่ง ถนนริมตลิ่ง และป้องกันสิ่งปลูกสร้างริมคลอง เกิดตัวอย่างการดำเนินงานทฤษฎีใหม่ริมคลอง พื้นที่ 0.075 ไร่ ช่วยเพิ่มรายได้ 12,000 บาทต่อปี และลดรายจ่ายครัวเรือนจากการซื้ออาหารได้ 6,000 บาทต่อปี
          ชาวสวนปาล์มมีรายได้จากการทำน้ำมันปาล์มได้ 24 ครั้งต่อต้นต่อปี ได้ผลผลิตมากกว่า 6 ถึง 8 ตันต่อไร่ รายได้เฉลี่ย 23,800 บาทต่อไร่ต่อปี (ราคาน้ำมันปาล์ม 4 บาท : 1 กิโลกรัม)

          ปี พ.ศ. 2527 – 2547 เกษตรกรได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่นามาเป็นร่องสวนเพื่อปลูกส้ม ต่อมาเกิดโรคส้มระบาดและมีปัญหาดินเปรี้ยว ทำให้เกษตรกรต่างเป็นหนี้ธนาคารกันมากมาย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจการเกษตรจึงแนะนำให้เปลี่ยนจากส้มมาปลูกปาล์มน้ำมันแทน
          ปี พ.ศ. 2554 เกิดน้ำท่วมใหญ่ ชาวชุมชนรังสิตรวมตัวกันป้องกัน ด้วยการปล่อยให้น้ำไหลผ่านพื้นที่ และเสริมคันดินกั้นริมคลอง ทำให้พื้นที่เพาะปลูกไม่ได้รับความเสียหายและปาล์มน้ำมันยังให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมาก
          ปี พ.ศ. 2555 พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงประทานเงินบริจาคของวิทยาลัยกระบวนการยุติธรรม ให้สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สสนก. เพื่อดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัย พัฒนาพื้นที่เกษตรทุ่งรังสิต คลองรังสิตสามารถกักเก็บน้ำได้มากกว่า 17 ล้านลูกบาศก์เมตร ช่วยให้กรุงเทพมหานครและภาคกลางของประเทศไทยรอดพ้นจากน้ำท่วม
          ปี พ.ศ. 2556 มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เข้าไปสนับสนุนการดำเนินงานของชุมชน ขยายแนวคิดและผลสำเร็จไปยังพื้นที่ข้างเคียง พัฒนาเรือดูดตะกอนเลน เพื่อขุดลอกเปิดทางน้ำในฤดูแล้งให้กับพื้นที่เกษตร 6,000 ไร่
          ปี พ.ศ. 2557 ได้รับเลือกจากมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ แห่งที่ 4 ของประเทศ เป็นตัวอย่างความสำเร็จของการดำเนินงานเชื่อมคลองเป็นแก้มลิง

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
          ปี พ.ศ. 2558 – ปัจจุบัน ขยายเครือข่ายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำไปถึง 9 พื้นที่ ในอำเภอหนองเสือ รวม 8 ตำบล ในคลองรังสิต เกิดระบบเชื่อมต่อโครงสร้างชลประทานกับร่องสวน กระจายน้ำเข้าสู่พื้นที่ร่องสวนปาล์มน้ำมันกว่า 22,632 ไร่ สามารถเป็นแก้มลิงรองรับน้ำกว่า 14.82 ล้าน ลูกบาศก์เมตร

ปัจจัยความสำเร็จ

เพิ่มศักยภาพ ให้ชุมชนบริหารจัดการด้วยตนเอง
          ในปี พ.ศ. 2554 ชุมชนได้เรียนรู้แนวทางบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน และตัวอย่างความสำเร็จจากชุมชนอื่น จึงได้เริ่มดำเนินงานในพื้นที่นำร่อง 4 ตำบล เริ่มวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำ ได้แก่ สำรวจ จัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล และปรับปรุงโครงสร้างน้ำในพื้นที่ จนเห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรมของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน เป็นที่ประจักษ์ต่อคนในชุมชนและชุมชนข้างเคียง ซึ่งชุมชนได้ขยายเครือข่ายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำไปถึง 9 พื้นที่ ในอำเภอหนองเสือ รวม 8 ตำบล ในคลองรังสิต ภายในเวลา 5 ปี โดยเครือข่ายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนใน 9 พื้นที่นี้ ได้รวมกลุ่มเพื่อร่วมดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำร่วมกัน นอกจากนี้ ชุมชนได้จัดตั้งกองทุนน้ำมันปาล์มประจำหมู่บ้านเพื่อจัดการด้านงบประมาณ และรายได้จากวิสาหกิจชุมชน นอกจากนี้ เมื่อชุมชนมีเรือดูดตะกอนเลนประจำชุมชน เกษตรกรสามารถนำไปใช้โดยจ่ายเฉพาะค่าเชื้อเพลิง ช่วยให้เกษตรกรประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ้างเรือดูดตะกอนเลนกว่า 0.89 ล้านบาท

ส่งเสริมการเรียนรู้และคิดค้นนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง
          สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สสนก. และมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถ่ายทอดความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนในกลุ่มผู้นำชุมชน โดยชี้ให้เห็นว่า ที่ได้ดำเนินงานในแต่ละพื้นที่ได้รับประโยชน์ร่วมกัน กลุ่มผู้นำชุมชนทั้ง 9 พื้นที่ เป็นหลักในการประสานการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชนคลองรังสิต

ความสำเร็จ

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

บูรณาการบริหารจัดการน้ำ ลดความเสี่ยงภัยแล้ง และทำการเกษตรที่นำไปสู่ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมทั้งฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
          ระบบการบริหารจัดการน้ำที่ทันสมัย มีพื้นฐานอยู่ที่การวิเคราะห์แหล่งน้ำอย่างละเอียด และมีนวัตกรรมเทคโนโลยี ถือเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับชุมชนคลองรังสิตในการเผชิญปัญหาความเสี่ยงจากภัยแล้งและปรับปรุงผลผลิตทางการเกษตร

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

การวิเคราะห์สมดุลน้ำ
          จากการใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย ชุมชนคลองรังสิตได้เรียนรู้วิธีการวิเคราะห์สมดุลน้ำ อันเป็นขั้นตอนพื้นฐานของการออกแบบระบบการจัดการน้ำที่ทันสมัย จากกราฟ (ภาพที่ 15) แสดงให้เห็นว่าชุมชนขาดแคลนน้ำอย่างมากตลอดทั้งปี ดังนั้น ควรเพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำเป็นเพียงทางออกเดียวสำหรับชุมชนคลองรังสิต

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

เรือดูดตะกอนเลน
          ชุมชนลอกคลองและคลองซอย เชื่อมกับการปรับปรุงบ่อพักน้ำและประตูระบายน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพน้ำเข้า-ออก เพิ่มพื้นที่แก้มลิงรับน้ำในร่องสวนปาล์ม และเชื่อมต่อกับคลองหลักและคลองซอย เป็นการปรับปรุงการระบายน้ำท่วมเพื่อเก็บกักน้ำไว้ในแก้มลิง
          การใช้เรือดูดเลน เพื่อเพิ่มร่องลึก ช่วยเพิ่มความสามารถในการระบายน้ำในฤดูน้ำหลาก ในขณะเดียวกัน เป็นการเปิดทางน้ำใหม่ในช่วงหน้าแล้ง เพื่อส่งน้ำไปยังพื้นที่ที่ห่างไกลออกไป
          เกษตรกรได้รับคำแนะนำให้ขุดลอกร่องสวนปาล์มเพื่อให้ดินดูดซึมน้ำได้ดีขึ้น เพิ่มปริมาณกักเก็บน้ำรวมทั้งตะกอนดินเลนที่ดูดขึ้นมา ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพืชและเป็นปุ๋ยบำรุงดิน

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

อนุรักษ์พื้นที่ริมคลอง
          การอนุรักษ์พื้นที่ริมคลองเพื่อป้องกันการพังทลายของตลิ่งเป็นส่วนสำคัญ ผลผลิตจากปาล์มและผลผลิตจากเกษตรแบบผสมผสานริมคลองยาว 72.8 กิโลเมตร เป็นการเพิ่มเสริมสร้างรายได้ที่สำคัญให้กับชุมชน

ผลการดำเนินงานสามารถสร้างความสำเร็จและความมั่นคงได้ดังนี้

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

  • ความมั่นคงด้านน้ำ เกิดระบบเชื่อมต่อโครงสร้างชลประทานกับร่องสวน สามารถกระจายน้ำเข้าสู่พื้นที่ร่องสวนปาล์มน้ำมันกว่า 22,632 ไร่ สามารถเป็นแก้มลิงรองรับน้ำกว่า 14.82 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำ เพื่อการเกษตรทั้งระบบ 29.0 บ้าน ลบ.ม. ผู้ได้รับประโยชน์ 6,400 ครัวเรือน 21,000 คน พื้นที่การเกษตร 52,000 ไร่

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

  • ความมั่นคงด้านภัยพิบัติ มีศักยภาพในการกักเก็บน้ำในพื้นที่แก้มลิง (คลอง ร่องสวน บ่อดิน) เพื่อใช้เป็นน้ำสำรองในฤดูแล้ง ป้องกันน้ำเค็มรุก และช่วยหน่วงน้ำได้กว่า 137 ล้าน ลบ.ม.

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

  • ความมั่นคงด้านอาหาร เกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ สามารถสร้างรายได้ปีละ 15,000 บาท/ไร่ ซึ่งสูงกว่าการทำเกษตรเชิงเดี่ยว 4.2 เท่า

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

  • ความมั่นคงด้านพลังงาน ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบบทุ่นลอยน้ำ ประหยัดค่าไฟฟ้าปีละ 48,000 บาท

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

  • ความมั่นคงด้านสวัสดิการชุมชน เกษตรผสมผสานริมคลอง ป้องกันริมคลองรกร้าง ถนนริมตลิ่งพังทลาย ต้นปาล์มน้ำมันริมคลอง จำนวน 13,000 ต้น สร้างรายได้ปีละ 0.66 ล้านต่อหมู่บ้าน

สร้างความร่วมมือระหว่างชุมชน หน่วยงานรัฐ ท้องถิ่น และภาคเอกชน เพื่อยกระดับความสำเร็จ
          เหตุการณ์มหาอุทกภัยในปี พ.ศ. 2554 เป็นจุดเริ่มต้นความร่วมมือระหว่างชาวบ้านและองค์การบริหารส่วนตำบล ในการบริหารจัดการน้ำเพื่อเอาชนะกับวิกฤตในขณะนั้น โดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)  หรือ สสนก. เป็นหน่วยงานสนับสนุนข้อมูลน้ำ
          ด้วยปณิธาณอันแน่วแน่ของชุมชน และองค์การบริหารส่วนตำบล ชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องเริ่มจัดการแหล่งน้ำ ขุดลอกคลอง เปลี่ยนพื้นที่นาเป็นร่องสวนปาล์ม เกิดการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ชุมชนเปิดใจรับและประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อป้องกันภัยพิบัติและมีการบริหารจัดการน้ำที่ดีขึ้นกว่าเดิม ด้วยการสนับสนุนจากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สสนก. ความร่วมมือกันระหว่างชุมชน หน่วยงานรัฐ ท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ส่วนตำบล เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชุมชนสามารถเอาชนะอุปสรรคเรื่องน้ำในพื้นที่ได้เป็นผลสำเร็จ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนนี้ ถือเป็นส่วนสำคัญในการขยายเครือข่ายจาก 4 พื้นที่ เป็น 9 พื้นที่ ภายในระยะเวลา 5 ปี ซึ่งมูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย ได้เห็นถึงผลสำเร็จ และได้ร่วมดำเนินงานสนับสนุนนงบประมาณผ่านทางมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา

คะแนนเต็ม 5 / 5. จำนวนผู้โหวต : 1

ยังไม่มีคะแนนโหวต! เป็นคนแรกที่ให้คะแนนโพสต์นี้