ชุมชนตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี

บริหารสระน้ำประจำไร่นา พัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชน

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

          ชุมชนตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 35,189 ไร่ ทิศเหนือติดกับเขตอุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่ ทิศใต้ติดกับอ่างเก็บน้ำเขาอีโต้ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่ม เหมาะแก่การเพาะปลูก การระบายน้ำ จากเทือกเขาสูงทางทิศเหนือลงมาทางทิศใต้ ผ่านพื้นที่ตอนกลางที่เป็นชุมชน และพื้นที่การเกษตร ลงแม่น้ำบางปะกงทางทิศใต้ มีทั้งสิ้น 14 หมู่บ้าน ชาวบ้านประกอบอาชีพทำสวนไม้ผลและปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งเป็นรายได้หลักที่สำคัญของชุมชน โดยอาศัยแหล่งน้ำจากคลองธรรมชาติ คือ คลองเกษียร ที่ไหลผ่านหมู่บ้าน ความยาวประมาณ 15 กิโลเมตร ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำปราจีนบุรี
          ชุมชนตำบลดงขี้เหล็ก เป็นชุมชนที่ปลูกและขายไม้ดอกไม้ประดับ ในตำบลมีคลองหลายสาย แต่ประสบปัญหาน้ำแล้ง น้ำหลากทุกปี ชุมชนขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและทำการเกษตร แต่พอถึงฤดูฝนจะประสบภาวะน้ำหลาก น้ำท่วมเป็นประจำ โดยเฉพาะบริเวณถนนสุวรรณศร น้ำจะท่วมทุกปี ทำให้ผลผลิตเสียหาย และยังมีปัญหาขาดแหล่งกักเก็บน้ำ รวมถึงไม่มีการวางแผนการบริหารจัดการที่ดี หลังจากมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เข้ามาสนับสนุน ด้วยการให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการน้ำชุมชน ให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ แผนที่ภูมิศาสตร์ ภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อใช้ร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นนวัตกรรมทางธรรมชาติ และยังประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน จนสามารถจัดหาแหล่งกักเก็บน้ำในฤดูฝน ก่อนที่จะปล่อยให้น้ำไหลลงแม่น้ำปราจีนบุรี อีกทั้งได้วางระบบส่งน้ำเพื่ออุปโภคในครัวเรือน และใช้ในการเกษตร รวมถึงสอนให้ชาวบ้านช่วยกันดูแลรักษาและฟื้นฟูป่าต้นน้ำ

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
          ปัจจุบันชุมชนตำบลดงขี้เหล็ก พัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำ และสำรองน้ำในพื้นที่ ด้วยสระน้ำประจำไร่นา หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “เขื่อนใต้ดิน” ทำให้มีน้ำใช้ยามฝนทิ้งช่วง สามารถบริหารจัดการปิดเปิดประตูน้ำ และเชื่อมต่อคลอง เพื่อกระจายน้ำให้ เข้าสู่พื้นที่เกษตรกรรมได้อย่างทั่วถึง ครอบคลุมพื้นที่ 28,850 ไร่ ช่วยลดภาวะน้ำแล้งและน้ำท่วม พร้อมกับปรับเปลี่ยนแนวคิดมาทำตามแนวทฤษฎีใหม่ ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ขยายผลเครือข่าย โดยการร่วมเรียนรู้ ลงมือทำและขับเคลื่อนงานร่วมกัน เกิดเครือข่ายกลุ่มเยาวชน สามารถประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สนับสนุนการทำงานกับคณะกรรมการเครือข่ายจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนได้เป็นอย่างดี

สภาพปัญหา

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ , มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

          ชุมชนตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 35,189 ไร่ มีพื้นที่ติดกับเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ประกอบด้วย 14 หมู่บ้าน มีประชากร 10,230 คน 2,224 ครัวเรือน
          ในอดีต ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา และมีหนี้สินจากการใช้น้ำ เพื่อทำคันดินกั้นน้ำ และผันน้ำเข้าที่นา ต่อมาได้นำต้นไม้ที่มีอยู่มาขยายพันธุ์ เริ่มเปลี่ยนจากทำนามาปลูกไผ่ตง ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจ

          ต่อมาชุมชนขาดแคลนน้ำ เนื่องจากไผ่ตงใช้น้ำปริมาณมาก และเริ่มประสบปัญหาขาดทุน ปี 2545 ชุมชนมีปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง (เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม) น้ำเริ่มไม่เพียงพอ คลองตื้นเขิน และมีวัชพืชจำนวนมาก

แนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหา

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์            , มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

          ปี 2553 – 2557 สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) หรือ สสนก. ได้คัดเลือกเป็นชุมชนแม่ข่ายการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรียนรู้การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิเคราะห์สมดุลน้ำและหาแหล่งสำรองน้ำในพื้นที่ ขุดสระสำรองน้ำเป็นแก้มลิงในพื้นที่ทำกินของตนเอง และต่อมามูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เข้ามาแนะนำแนวทางการบริหารจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ สนับสนุนให้ชุมชนร่วมกันวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเองจน เริ่มจากสมาชิก 3 ราย ก่อนขยายผลครอบคลุมทั้งตำบล สร้างฝายกักเก็บน้ำในชุมชน ช่วยกักเก็บน้ำหลากไว้ใช้ทำการเกษตรในหน้าแล้ง ปลูกพืชผัก ผลไม้หลายชนิดและเลี้ยงปลาในสระ ใช้บริโภคในครัวเรือนและจำหน่าย ดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ช่วยลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ในครัวเรือน

การเปลี่ยนแปลง

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

          ชุมชนวิเคราะห์และหาแหล่งสำรองน้ำในพื้นที่ และขุดสระสำรองน้ำเป็นแก้มลิงในพื้นที่ทำกินของตนเอง โดยเริ่มต้นจากสมาชิก 3 ราย ก่อนขยายผลครอบคลุมทั้งตำบล
          ปี พ.ศ. 2557 ร่วมเป็นชุมชนแม่ข่ายการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิเคราะห์ข้อมูล แผนที่ และผังน้ำ เห็นความเชื่อมโยงของแหล่งน้ำแต่ละแหล่ง ฟื้นฟูแหล่งน้ำและปรับปรุงซ่อมแซมโครงสร้าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ เกิดความมั่นคงด้านน้ำและความมั่นคงทางอาหาร ด้วยการเกษตรผสมผสานตามแนวทางทฤษฎีใหม่

          ปี พ.ศ. 2440    ชาวบ้านเข้ามาตั้งถิ่นฐานในตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ส่วนใหญ่เดินทางมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลาวและเขมร
          ปี พ.ศ. 2524    ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา มีหนี้สิน ใช้น้ำจากการทำคันดินกั้นน้ำและผันเข้าที่นา
          ปี พ.ศ. 2535    ชาวบ้านนำต้นไผ่ที่มีอยู่ตามหัวไร่ปลายนามาขยายพันธุ์ เริ่มเปลี่ยนจากทำนามาปลูกไผ่ตง ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจ
          ปี พ.ศ. 2536 – 2538    ชุมชนขาดแคลนน้ำ เนื่องจากไผ่ตงใช้น้ำปริมาณมาก และเริ่มประสบปัญหาขาดทุน
          ปี พ.ศ. 2540    ชาวบ้านเริ่มขยายพันธุ์ต้นโมกข์ส่งขายที่กรุงเทพมหานคร สร้างรายได้ดีขึ้น จึงหันมาปลูกและจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน
          ปี พ.ศ. 2545    ชุมชนเริ่มประสบปัญหาขาดแคลนน้ำช่วงฤดูแล้ง (กุมภาพันธ์- พฤษภาคม) ความต้องการใช้น้ำปลูกไม้ดอกไม้ประดับเพิ่มขึ้นทุกปีเฉลี่ยร้อยละ 10 แหล่งกักเก็บน้ำเริ่มไม่เพียงพอ คลองตื้นเขิน และมีวัชพืชจำนวนมาก
          ปี พ.ศ. 2552    ผู้นำชุมชนสำรวจพื้นที่ และเขียนแผนของบประมาณสร้างเขื่อน เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุนให้กับชุมชน ซึ่งต้องการใช้น้ำ 55,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน งบก่อสร้างกว่า 153 ล้านบาท แต่ไม่มีหน่วยงานใดให้การสนับสนุน
          ปี พ.ศ. 2553 – 2554 ชุมชนวิเคราะห์และหาแหล่งสำรองน้ำในพื้นที่ และขุดสระสำรองน้ำเป็นแก้มลิงในพื้นที่ทำกินของตนเอง โดยเริ่มต้นจากสมาชิก 3 ราย ก่อนขยายผลครอบคลุมทั้งตำบล
          ปี พ.ศ. 2557    ร่วมกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ดำเนินงานแม่ข่ายการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขยายผลการจัดการน้ำสู่ 46 ตำบล ในพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรี
          ปี พ.ศ. 2559 ได้รับเลือกจากมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ แห่งที่ 13 ของประเทศ เป็นตัวอย่างความสำเร็จการบริหารสระน้ำประจำไร่นา และพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชน

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
          ปี พ.ศ. 2560 – 2561 ดำเนินงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริอย่างต่อเนื่อง เป็นแกนนำเครือข่ายลุ่มน้ำปราจีนบุรี ร่วมขับเคลื่อนขยายผลความสำเร็จไปยังเครือข่ายมากกว่า 46 ตำบล ใน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว และปราจีนบุรี พื้นที่ต้นน้ำ 9 ตำบล พื้นที่กลางน้ำ 31 ตำบล และพื้นที่ปลายน้ำ 6 ตำบลในจังหวัดปราจีนบุรี

ปัจจัยความสำเร็จ

ชุมชนมีส่วนร่วมจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ
          ชุมชนตำบลดงขี้เหล็ก พัฒนาแหล่งกักเก็บและสำรองน้ำในพื้นที่ ด้วยสระน้ำประจำไร่นา เรียกแบบชาวบ้านว่า “เขื่อนใต้ดิน” ทำให้มีน้ำใช้ในยามฝนทิ้งช่วง บริหารจัดการประตูน้ำและเชื่อมต่อคลองสาขา เพื่อกระจายน้ำเข้าสู่พื้นที่การเกษตรอย่างทั่วถึง

พัฒนาศักยภาพชุมชนสร้างความมั่นคงทางอาหาร
          ชุมชนทำการเกษตร ปลูกพืชผัก ผลไม้หลายชนิดและเลี้ยงปลา ใช้บริโภคในครัวเรือนและจำหน่าย ดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้

ความสำเร็จ

  1. ความมั่นคงด้านน้ำ บริหารจัดการอย่างยั่งยืน

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

          1.1 เพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำ สำรองน้ำเพื่อการเกษตร สร้างภาชนะให้ตนเอง เพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำของชุมชน เช่น อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก และสระเก็บน้ำประจำไร่นา ชุมชนร่วมกันฟื้นฟูอ่างเก็บน้ำเขาชีปิด และแก้มลิง 3 จุด เพื่ออุปโภค บริโภคและการเกษตร ช่วยสำรองน้ำในกรณีฝนทิ้งช่วง เพิ่มปริมาณน้ำกักเก็บได้ 337,410 ลูกบาศก์เมตร สระน้ำประจำไร่นา หรือเขื่อนใต้ดิน มีแหล่งกักเก็บน้ำในพื้นที่เกษตรของตนเอง จากการกักเก็บน้ำในสระประจำแปลง จากแหล่งสำรองน้ำ ได้แก่ ฝายกักเก็บน้ำ 25 ฝาย สระน้ำแก้มลิง 15 สระ และอ่างเก็บน้ำ 3 แห่ง เกิดกองทุนสระน้ำ มีสมาชิกรวม 1,200 ครัวเรือน ส่งผลให้ชุมชนมีความมั่นคงด้านน้ำ อาหารและรายได้

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

          1.2 น้ำเพื่ออุปโภคในครัวเรือนด้วยโซลาเซลล์แบบลอยน้ำ
โซลาเซลล์แบบลอยน้ำช่วยลดการระเหยของน้ำ เนื่องจากตัวแผงลอยอยู่บนผืนน้ำ ช่วยการไหลเวียนและเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ ช่วยเพิ่มคุณภาพน้ำและเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ เป็นการจัดการพลังงานที่ควบคู่กับการจัดการทรัพยากรน้ำ อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความมั่นคงด้านพลังงาน ชุมชนมีพลังงานทางเลือกและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

          1.3 เชื่อมโยงโครงข่ายน้ำและบริหารจัดการประตูน้ำ
เชื่อมเส้นทางน้ำในตำบลด้วยการฟื้นฟูคลองสาขา 5 สาย ได้แก่ คลองไส้ไก่ คลองยาง คลองกระท้อน คลองเรือ และคลองทราย ซึ่งเชื่อมกับคลองหลักคือคลองเกษียร  เพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างแหล่งน้ำด้วยการขุดลอกครอบคลุม 14 หมู่บ้าน ของตำบลดงขี้เหล็ก พื้นที่ 35,100 ไร่ ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นมากกว่า 1,020,047 ลูกบาศก์เมตร ฝายและอาคารน้ำล้น ช่วยกักเก็บและรักษารับน้ำ บริหารจัดการบานประตูระบายน้ำในช่วงหน้าแล้ง ในเพือนตุลาคมของทุกปี ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ เพื่อเก็บสำรองน้ำและระบายน้ำตามสถานการณ์ ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ครอบคลุมพื้นที่รับประโยชน์ 12,400 ไร่

  1. สร้างความมั่นคงทางอาหาร บนแนวคิดการพึ่งพาตนเอง

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

          ผลผลิตที่ได้จากการเกษตรผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่ ได้แก่ พืชผัก ผลไม้หลายชนิดและการเลี้ยงปลาในสระ ใช้บริโภคในครัวเรือนและจำหน่าย รวมทั้งดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่ปี 2557 – 2560 จำนวน 13 ครัวเรือน 13 ไร่ และมีการขยายโดยชุมชนอีกจำนวน 52 ไร่ มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนหลังหักรายจ่าย 53,500 บาทต่อเดือน ลดรายจ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือน 5,100 บาทต่อเดือน สามารถพึ่งพาตนเอง ขยายแนวคิดการสร้างความมั่นคงทางอาหารไปยัง 2,650 ครัวเรือนของทั้งตำบล สร้างชุมชนเข้มแข็งด้วยกองทุนสวัสดิการ จำนวน 12 กองทุน เช่น กองทุนออมทรัพย์ กองทุนที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย กองทุนร้านค้าชุมชน กองทุนเกษตรอินทรีย์ กองทุนการจัดการน้ำ เป็นต้น

  1. ตำบลจัดการตนเอง ขยายแนวคิดไปสู่ลุ่มน้ำปราจีนบุรี

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

          ชาวบ้านนำข้อมูลผังน้ำและแผนที่มาพิจารณาร่วมกัน วิเคราะห์สภาพปัญหา วางแผนการบริหารจัดการ นำไปสู่แผนการจัดการลุ่มน้ำปราจีนบุรี เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง สร้างความเข้มแข็งและความร่วมมือของเครือข่ายลุ่มน้ำปราจีนบุรี ปัจจุบันมีเครือข่ายมากกว่า 46 ตำบล ใน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว และปราจีนบุรี พื้นที่ต้นน้ำ 9 ตำบล พื้นที่กลางน้ำ 31 ตำบล และพื้นที่ปลายน้ำ 6 ตำบลในจังหวัดปราจีนบุรี

คะแนนเต็ม 5 / 5. จำนวนผู้โหวต : 3

ยังไม่มีคะแนนโหวต! เป็นคนแรกที่ให้คะแนนโพสต์นี้