ชุมชนตำบลบุ่งคล้า อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ

สภาพปัญหา

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

          ชุมชนตำบลบุ่งคล้า ประสบปัญหาทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้ง มาเป็นเวลากว่า 30 ปี (ตั้งแต่ พ.ศ.2531) ทั้งที่มีภูมิประเทศติดริมแม่น้ำโขง มีแหล่งน้ำ ห้วย หนอง คลอง บุ่ง มากมาย แต่ขาดการเชื่อมต่อ ถูกรุกล้ำ และเสื่อมสภาพ ขาดการบริหารจัดการน้ำให้เชื่อมโยงกันทั้งระบบ ทำให้ในฤดูฝนน้ำระบายไม่ทัน เกิดน้ำท่วมขัง และไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง ชุมชนจึงสูบน้ำจากแม่น้ำโขงด้วยไฟฟ้า ต้องเสียค่าไฟปีละ 419,600 บาททุกปี บางปีที่ประสบภาวะวิกฤตแล้งมาก ระดับน้ำแม่น้ำโขงลดลง ไม่สามารถสูบน้ำมาใช้ได้

การเปลี่ยนแปลง

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

          ชุมชนตำบลบุ่งคล้า จัดเก็บข้อมูลจากทุกครัวเรือน จึงเข้าใจสภาพปัญหาหลัก คือ ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้ง และเมื่อปี พ.ศ. 2553 ชุมชนประสบปัญหาภัยแล้ง แม่น้ำโขงเหือดแห้ง จึงมีแนวคิดย้ายสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้ามาตั้งที่ห้วยหนองบึง ซึ่งต้องใช้งบประมาณ มากกว่า 4 ล้านบาท รวมทั้งมีค่าไฟเพิ่มเติม โดยเสนอโครงการมาที่สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สสนก. ซึ่ง สสนก. ได้แนะนำให้ชุมชนน้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาใช้ในการบริหารจัดการน้ำ และให้ไปศึกษาโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เปลี่ยนแนวคิดจากระบบสูบน้ำโขง มาเป็นการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่
          ชุมชนจึงกลับมาสำรวจ ตรวจเช็คค่าระดับของแหล่งน้ำที่สำคัญ และพื้นที่การเกษตร พัฒนาโครงสร้างน้ำเดิม เพิ่มพื้นที่กักเก็บสำรองน้ำ พัฒนาโครงข่ายแก้มลิงจัดการน้ำเกิน เก็บน้ำหลาก เชื่อมแหล่งน้ำ ห้วย หนอง คลอง บุ่ง บริหารฝายกักเก็บน้ำและประตูน้ำอย่างเป็นระบบ
          2400 ชนเผ่าไทยย้อ อพยพมาจาก สปป.ลาว มายัง เมืองชัยบุรี(เมืองไชยบุรี) จังหวัดนครพนม บางส่วน ลงหลักปักฐาน โดยยึดทำเลใกล้แหล่งน้ำ ตามลำห้วย และแม่น้ำโขง เรียกว่า ตำบลหนองเดิ่น
          2459 – 2477 ย้ายจากเมืองชัยบุรี มาที่เมืองบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย เพื่อมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงทางทิศใต้ของบ้านหนองเดิ่น บริเวณปากห้วยสหาย มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ มีต้นคล้าขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงตั้งชื่อว่า ชุมชน“บุ่งคล้า”
          2513 กรมชลประทานก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยสหาย
          2518 กรมป่าไม้ประกาศเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว
          2536 องค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งคล้า เปิดใช้สถานีสูบน้ำจากแม่น้ำโขงด้วยไฟฟ้า
          2547 เริ่มทำเกษตรเชิงเดี่ยวตามโครงการยางพาราล้านไร่
          2551 จัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลบุ่งคล้า
          2552 เกิดวิกฤตน้ำท่วมหลากในฤดูฝน และขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ปริมาณน้ำโขงลดลง ทำให้ไม่สามารถสูบน้ำได้ตามปกติ
          2553 เกิดวิกฤตน้ำโขงเหือดแห้ง และเกิดปรากฏการณ์หอยหินโผล่ ชาวบ้านจับหอยไม่ถูกวิธี ทำให้หอยตัวเล็กตายเน่าเต็มตลิ่ง จึงร่วมกันกำหนดวังสงวนเป็นเขตหวงห้ามแห่งแรกของตำบลบุ่งคล้า
          2554 – ปัจจุบัน เริ่มดำเนินงานบริหารจัดการน้ำ ร่วมกับ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) จัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำชุมชนตำบลบุ่งคล้า ร่วมกันฟื้นฟูและพัฒนาเชื่อมโครงข่ายน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยสหายเข้าสู่ลำห้วยหนองบึง เพิ่มโครงสร้างดักน้ำก่อนไหลลงแม่น้ำโขง ทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ และขยายเครือข่ายเชื่อมต่อแหล่งน้ำไปยังตำบลหนองเดิ่น
          2556-2559 เป็นตำบลต้นแบบพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ร่วมกับหน่วยงานท้องที่ ท้องถิ่น กำหนดเขตอนุรักษ์ กบ เขียด กำหนดเขตวังสงวนหน้าอ่างเก็บน้ำห้วยสหาย

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
          2560 เป็นชุมชนต้นแบบขยายผลการบริหารจัดการน้ำชุมชน เชื่อมร้อยความสัมพันธ์ระดับลุ่มน้ำโขง ไปยังชุมชนบ้านใหญ่นาเจริญ เมืองสังข์ทอง นครหลวงเวียงจันทน์ และบ้านไฮ้ เมืองไชยธานี สปป.ลาว

แนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหา

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

          ชุมชนได้น้อมนำแนวพระราชดำริด้านการพัฒนาโครงข่ายแก้มลิง จัดการน้ำเกิน เก็บน้ำหลาก เชื่อมแหล่งน้ำ ห้วย หนอง คลอง บุ่ง บริหารฝายกักเก็บน้ำและประตูน้ำอย่างเป็นระบบ พร้อมกับการพัฒนาคนในชุมชนและชุมชนเครือข่าย ให้สามารถดำเนินงานบริหารจัดการน้ำได้ด้วยตนเอง

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

          ชุมชนเรียนรู้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จัดทำแผนที่และผังน้ำ จัดทำข้อมูลสมดุลน้ำ เพื่อใช้น้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ สามารถวางแผนบริหารจัดการน้ำได้อย่างเป็นระบบ ควบคู่กับการพัฒนาฟื้นฟูแหล่งน้ำ รวมทั้งปรับเปลี่ยนแนวคิดในการปลูกพืชเชิงเดี่ยว มาทำเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ลดรายจ่าย
เพิ่มรายได้ในครัวเรือน

บริหารจัดการน้ำแล้งน้ำหลาก เก็บน้ำหลาก เชื่อมแหล่งน้ำ “ห้วย หนอง คลอง บุ่ง”

  • เชื่อมโยงแหล่งน้ำ ห้วย หนอง คลอง บุ่ง (โซนที่ 1)

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

แหล่งน้ำสำคัญของโซนที่ 1 คืออ่างเก็บน้ำห้วยสหาย และหนองบึงใหญ่
ในอดีต อ่างเก็บน้ำห้วยสหายขาดระบบกระจายน้ำ ส่วนหนองบึงใหญ่มีสภาพตื้นเขิน ระดับคันดินต่ำ ในฤดูน้ำหลาก น้ำจากหนองบึงใหญ่จะล้นข้ามคันดินมาท่วมพื้นที่การเกษตรด้านล่าง
ปัจจุบัน เชื่อมอ่างเก็บน้ำห้วยสหาย และหนองบึงใหญ่ ผ่านลำห้วยสาขา และเสริมโครงสร้างน้ำ สามารถบริหารจัดการน้ำเชื่อมโยงทั้งระบบ 3.27 ล้าน ลบ.ม. ครอบคลุมพื้นที่ 2 ตำบล 9 หมู่บ้าน 1,190 ครัวเรือน พื้นที่กว่า 1,100 ไร่

  • กักเก็บน้ำหลาก จากภูวัว จรดริมโขง (โซนที่ 2)

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

โซนที่ 2 คือ พื้นที่ต้นน้ำของจังหวัดบึงกาฬ เทือกเขาภูวัว
ในอดีต เกิดน้ำท่วมซ้ำซาก มีแหล่งเก็บน้ำคือ หนองแวง แต่ตื้นเขิน กักเก็บน้ำไม่ได้ ทำให้ฤดูน้ำหลาก น้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร เข้าท่วมที่อยู่อาศัย 3 วัน และพื้นที่เกษตรนาน 3 เดือน เสียหายไม่น้อยกว่า 100 ไร่
ปัจจุบัน ฟื้นฟูและพัฒนาหนองแวง ห้วยหนองแวง จนถึงห้วยกะต๋อย ห้วยปุ่ง เชื่อมห้วยขามเปี้ย และเสริมโครงสร้างน้ำ สามารถบริหารจัดการน้ำ รวม 11.98 ล้าน ลบ.ม. ลดปัญหาน้ำท่วม และนำน้ำไปเสริมระบบน้ำประปาและน้ำทำการเกษตร 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลบุ่งคล้า และตำบลโคกกว้าง พื้นที่ 7,456 ไร่

เกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่

ชุมชนเปลี่ยนวิถีจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาปลูกพืชผสมผสาน ทำให้มีผลผลิตและมีรายได้ตลอดทั้งปี

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

  • เกษตรริมโขง เกษตรแบบไร้สารเคมีเพื่อสร้างรายได้ในช่วงฤดูแล้ง แบ่งพื้นที่ให้ครัวเรือนละ 2 งาน รวม 150 ครัวเรือน 75 ไร่ เพิ่มรายได้เสริมจากเกษตรริมโขงในฤดูแล้ง (เดือน ธันวาคม –เมษายน) รายได้เฉลี่ยรวม 2.7 ล้านบาท ต่อปี (4,500 บาท x 150 แปลง x 4 เดือน) ปลูกพืชระยะสั้น ได้แก่ ถั่วลิสง มันเทศ ถั่วฝักยาว ฟักทอง ข้าวโพด มันแกว หัวหอม กระเทียม ผักกาด ผักสลัด เป็นต้น

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

เกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ รวม 180 ครัวเรือน วางแผนเพาะปลูกให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำ มีผลผลิตหลากหลาย มีรายได้ครัวเรือนตลอดปี เฉลี่ยรวม 8.64 ล้านบาท ลดรายจ่ายในครัวเรือน เฉลี่ยรวม 6.48 ล้านบาท

ความสำเร็จ

ความสำเร็จของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ
1.การบริหารจัดการน้ำ

  • สำรวจ ตรวจเช็คค่าระดับของแหล่งน้ำที่สำคัญ และพื้นที่การเกษตร
  • มีข้อมูล และแผนที่เส้นทางน้ำ แบ่งพื้นที่บริหารจัดการน้ำอย่างชัดเจน
  • พัฒนาโครงสร้างน้ำเดิม เพิ่มพื้นที่กักเก็บสำรองน้ำ
  • พัฒนาโครงข่ายน้ำ สระน้ำแก้มลิง จัดการน้ำเกิน เก็บน้ำหลาก เชื่อมแหล่งน้ำ ห้วย หนอง คลอง บุ่ง
  • บริหารจัดการฝายกักเก็บน้ำและประตูน้ำอย่างเป็นระบบ

2.เชื่อมแหล่งน้ำ “ห้วย หนอง คลอง บุ่ง”

  • เชื่อมอ่างเก็บน้ำห้วยสหาย และหนองบึงใหญ่ ผ่านลำห้วยสาขา และเสริมโครงสร้างน้ำ สามารถบริหารจัดการน้ำเชื่อมโยงทั้งระบบ 3.27 ล้าน ลบ.ม. ครอบคลุมพื้นที่ 2 ตำบล 9 หมู่บ้าน 1,190 ครัวเรือน พื้นที่กว่า 1,100 ไร่

3.กักเก็บน้ำหลาก จากภูวัว จรดริมโขง

  • ฟื้นฟูและพัฒนาหนองแวง ห้วยหนองแวง จนถึงห้วยกะต๋อย ห้วยปุ่ง เชื่อมห้วยขามเปี้ย และเสริมโครงสร้างน้ำ สามารถบริหารจัดการน้ำ รวม 11.98 ล้าน ลบ.ม. ลดปัญหาน้ำท่วม และนำน้ำไปเสริมระบบน้ำประปาและน้ำทำการเกษตร 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลบุ่งคล้า และตำบลโคกกว้าง พื้นที่ 7,456 ไร่

4.การสร้างภูมิคุ้มกัน

  • เกษตรริมโขง เกษตรแบบไร้สารเคมี อบต.บุ่งคล้าจัดสรรพื้นที่ริมโขงให้กับเกษตรกร โดยแบ่งครัวเรือนละ 2 งาน รวม 150 ครัวเรือน พื้นที่ 75 ไร่ เพิ่มรายได้เสริมจากเกษตรริมโขงในฤดูแล้ง (เดือน ธันวาคม – เมษายน) รายได้เฉลี่ยรวม 2.7 ล้านบาท ต่อปี ปลูกพืชระยะสั้น ได้แก่ ถั่วลิสง มันเทศ ถั่วฝักยาว ฟักทอง ข้าวโพด มันแกว หัวหอม กระเทียม ผักกาด ผักสลัด เป็นต้น
  • เกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ชุมชนได้เปลี่ยนวิถีจากการพืชเชิงเดี่ยวมาทำเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ รวม 180 ครัวเรือน มีผลผลิตตลอดทั้งปี มีรายได้ครัวเรือนรวม 8.64 ล้านบาทต่อปี

คะแนนเต็ม 1 / 5. จำนวนผู้โหวต : 1

ยังไม่มีคะแนนโหวต! เป็นคนแรกที่ให้คะแนนโพสต์นี้