ชุมชนบ้านเปร็ดใน อำเภอเมือง จังหวัดตราด

สภาพปัญหาของชุมชน

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

          ชุมชนบ้านเปร็ดใน ต.ห้วงน้ำขาว อ.เมืองฯ จ.ตราด มีวิถีชีวิตอยู่กับป่าชายเลนมาโดยตลอด จนกระทั่งนายทุนได้สิทธิสัมปทานป่าชายเลน ประกอบกับการขยายตัวของการทำนากุ้ง ทำให้ป่าชายเลนถูกบุกรุกทำลายกว่า 5,000 ไร่  ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศถูกทำลายลง เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และชุมชนเกิดหนี้สินสูงถึง 30 ล้านบาท

จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลง

          เมื่อป่าชายเลนของชุมชนถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว ชุมชนจึงได้มีข้อตกลงร่วมกันในการปิดป่าชายเลน พร้อมทั้งรณรงค์ให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของป่าชายเลน มีการฟื้นฟูระบบนิเวศและเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ รวมถึงการปลูกป่าทดแทน นอกจากนี้ ชุมชนบ้านเปร็ดในได้จัดตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์บ้านเปร็ดใน เพื่อนำเงินกองทุนมาบริหารจัดการให้หนี้สินของชุมชนลดลง  ในส่วนของการแก้ไขปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำนั้น ชุมชนได้จัดตั้งคณะกรรมการกลุ่มบริหารจัดการน้ำบ้านเปร็ดใน จนสามารถสำรองน้ำจืดได้กว่า 1,776,505 ลบ.ม. และยังลดปัญหาน้ำเค็มรุกเข้าพื้นที่เกษตรและสระเก็บน้ำของชาวบ้าน ทำให้เกิดความมั่นคงน้ำในการอุปโภค บริโภค และการเกษตร

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
          ปี 2396 ชาวจีน 10 ครัวเรือน 3 ตระกูล ได้แก่ ตระกูลเสี่ยงเคราะห์ ตระกูลสั่งนาค ตระกูลชุมมณี ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานชุมชนบ้านเปร็ดใน ต่อมาเมื่อชุมชนขยาย การประกอบอาชีพของชาวชุมชนก็มีมากขึ้น เช่น ทำประมง ปลูกข้าว ทำสวนยาง  ทำสวนผลไม้ ทำนากุ้ง เลี้ยงปลา เป็นต้น
          ปี 2484 -2526  นายทุนได้สัมปทานป่าชายเลน พื้นที่ป่าชายเลนของชุมชนถูกแผ้วถางทำลายเพื่อทำ          นากุ้ง มีการขุดคันคูน้ำกั้นน้ำเค็ม ระบบนิเวศป่าชายเลนเริ่มถูกทำลาย พื้นที่ป่าชายเลนเสียหายกว่า 5,000 ไร่
          ปี 2530 ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รวมตัวกันขับไล่นายทุน เกิดการปะทะกันระหว่างชาวบ้านและนายทุน สุดท้ายสามารถขับไล่นายทุนออกจากพื้นที่ได้สำเร็จ
          ปี 2534 ชุมชนหันมาประกอบอาชีพทำนากุ้งได้ปล่อยน้ำลงป่าชายเลน โดยไม่มีระบบกำจัดน้ำเสีย ทำให้ระบบนิเวศเสื่อมโทรม
          ปี 2536 นากุ้งล่มสลาย ชาวบ้านชุมชนบ้านเปร็ดในมีหนี้สูงรวมกันถึง 30 ล้านบาท ป่าชายเลนอยู่ในสภาพวิกฤต
          ปี 2537 เกิดข้อตกลงร่วมกันในการประกาศปิดป่า ห้ามชุมชนเข้าไปใช้ประโยชน์จากไม้ในป่าทั้งหมด  และรณรงค์ให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของป่าชายเลน ป่าชายเลนเริ่มได้รับการฟื้นฟู
          ปี 2538 เกิดกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์บ้านเปร็ดในตามคำแนะนำของพระอาจารย์สุบิน ปณีโต วัดไผ่ล้อม และครูชก ยอดแก้ว โดยการนำเงินของสมาชิกมาออมรวมกัน และหมุนเวียนเงินกองทุนสำหรับสมาชิก เพื่อบริหารจัดการให้หนี้สินของชุมชนบ้านเปร็ดในลดลง
          ปี 2541 – 2543 เกิดกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน และเริ่มโครงการปลูกป่าเฉลิม พระเกียรติ 12 สิงหา ชาวชุมชนบ้านเปร็ดในร่วมกันฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนครอบคลุมพื้นที่ 12,000 ไร่ จนมีความอุดมสมบูรณ์เป็นลำดับที่ 2 ของประเทศไทย และเป็นอันดับ 20 ต้นๆ ของโลก เกิดการเพาะขยายพันธุ์ สัตว์น้ำ ทำบ้านปลา ธนาคารปูดำ และรณรงค์ให้หยุดจับปูแสมในช่วงฤดูวางไข่
          ปี 2550 ประสบปัญหาน้ำขาดแคลนในช่วงฤดูแล้ง (เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน) และเกิดน้ำเค็มรุกเข้าสระประจำสวนของชาวบ้าน ทำให้ไม่สามารถนำน้ำมาใช้ในการเกษตรได้
          ปี 2552 ชุมชนจัดตั้งคณะกรรมการกลุ่มบริหารจัดการน้ำบ้านเปร็ดใน เพื่อดำเนินงานด้านการบริหารจัดการน้ำชุมชน แก้ไขปัญหาน้ำทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ น้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ได้คัดเลือกให้ชุมชนบ้านเปร็ดในเป็นแม่ข่ายการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
          ปี 2553 – 2559 บริหารจัดการน้ำโดยสามารถสำรองน้ำจืดได้กว่า 1,776,505 ลบ.ม. ชะลอและกักเก็บ น้ำจืดให้อยู่ในพื้นที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูแล้งอีก 30-35 วัน ลดปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำเข้าพื้นที่เกษตรและสระเก็บน้ำของชาวสวน

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
          ปี 2560 ชุมชนเกิดความมั่นคงน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร เป็นหมู่บ้านแม่ข่ายในการบริหารจัดการน้ำแบบพึ่งพาตนเอง เกิดผลสำเร็จในการบริหารจัดการน้ำ และขยายผลสู่ชุมชนข้างเคียง ครอบคลุมทั้งชุมชน และมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้คัดเลือกชุมชนบ้านเปร็ดในเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ

การอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

          ประกอบด้วย 6 กลุ่มย่อย กลุ่มละ 20 ครัวเรือน แบ่งเขตรับผิดชอบดูแลพื้นที่ป่าชายเลนเป็น 5 โซน สมาชิกผลัดกันออกลาดตระเวนดูแลป่าชายเลน เพื่อตรวจสอบการลักลอบตัดไม้ การเผาถ่าน และทำลายระบบนิเวศ  เกิดแผนการจัดการป่าชายเลนชุมชน โดยศึกษาสภาพป่า ทำแนวเขต แผนที่ แบ่งพื้นที่การจัดการ วางกฎระเบียบและข้อตกลงในการใช้ประโยชน์ทรัพยากร และสามารถขยายเครือข่ายชุมชนใกล้เคียงเพื่อจัดการป่าชายเลนและแก้ปัญหาหน้าทะเลร่วมกัน

  • งานวิจัยชุมชนกับป่าชายเลน

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

          จัดทำขึ้นเพื่อลดความขัดแย้งทางความคิด โดยการใช้กระบวนการเรียนรู้และวิเคราะห์ปัญหา รวมทั้งเป็นการรวบรวมผลงานวิจัยเป็นชุดความรู้เชิงนวัตกรรมของชุมชน เช่น การคิดค้นการทำเต๋ายางให้เป็นปะการังเทียม เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าทะเล และแนวเขตฟื้นฟูของป่าชายเลน

  • การจัดการของชุมชน

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

          เป็นเครื่องมือหนึ่งในการจัดการป่าร่วมกันของชาวบ้าน มีการระดมความคิดเห็นระหว่างชาวบ้านผู้ใช้ประโยชน์ ผู้นำ คณะกรรมการฯ และจากการฟื้นฟูทรัพยากรป่าชายเลน ทำให้ทรัพยากรพืชพันธุ์และสัตว์น้ำมีความอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้คนทั้งในและนอกชุมชนได้เข้ามาใช้ประโยชน์และพึ่งพิงป่าชายเลน นอกจากนี้ ชุมชนบ้านเปร็ดในยังได้กำหนดข้อตกลง กฎระเบียบ ในการเก็บหาและใช้ประโยชน์จากป่าในเรื่องไม้ การทำประมงพื้นบ้าน การจับสัตว์น้ำ และสัตว์อื่นๆ พร้อมบทลงโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน ชุมชนข้างเคียงและหน่วยงานภาครัฐเกิดความเข้าใจการจัดการป่าชายเลนของชุมชนมากขึ้น ชุมชนเลิกการทำประมงอวนรุน อวนลาก ส่งผลให้ทรัพยากรหน้าทะเลเพิ่มขึ้น และจำนวนคนบุกรุกป่าชายเลนลดลง

  • อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

          ตามนโยบาย “หยุดจับร้อยคอยจับล้าน” ที่ห้ามจับปูแสมในคืนขึ้น 4-5-6 ค่ำ และ แรม 4-5-6 ค่ำ เดือน 11 ในทุกปี เพราะเป็นช่วงที่ปูแสมวางไข่และเป็นตัวอ่อน

  • ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

          โดยใช้ “เต๋ายาง” ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อลดความรุนแรงของการกัดเซาะพื้นที่ป่าชายเลนจากเรือคราดหอย ทั้งนี้ ชาวบ้านได้ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อทำเต๋ายางตามแนวชายฝั่ง ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร นอกจากนี้ เต๋ายางยังทำหน้าที่เป็นบ้านปลา ช่วยเพิ่มจำนวนปลา และชุมชนบ้านเปร็ดในยังรณรงค์ให้ใช้อุปกรณ์จับสัตว์น้ำที่เหมาะสม และเลิกใช้เรือคราดหอย

  • ขยายเครือข่ายอนุรักษ์ป่าชายเลน

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

– จัดค่ายสิ่งแวดล้อมทรัพยากรชายฝั่งทะเล เพื่อขยายเครือข่ายไปสู่ระดับครอบครัวในชุมชนบ้านเปร็ดใน และเครือข่ายชุมชนภายนอก เกิดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และการดำเนินงานระหว่างภาคีเครือข่าย ทั้งภาคชุมชน ภาครัฐ และองค์กรเอกชน

– สร้างคนรุ่นใหม่สืบสานภารกิจด้วยการจัดค่ายเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม นำหลักสูตรท้องถิ่นเข้าไปในระบบโรงเรียน เพื่อให้คนรุ่นใหม่ของชุมชนตระหนักถึงคุณค่าในวิถีชีวิตดั้งเดิมของท้องถิ่น มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการสำรวจและจัดเก็บข้อมูล เรียนรู้แนวคิดและการทำงานจากแกนนำชุมชน เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และเพื่อสืบทอดวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและดีงามต่อไป

การบริหารจัดการน้ำ 4 น้ำ (น้ำกร่อย น้ำเค็ม น้ำจืด น้ำเสีย)

          ชุมชนบ้านเปร็ดในมีฝนตกยาวนานติดต่อกันถึง 8 เดือน มีปริมาณน้ำฝนสะสมรายปีเฉลี่ยสูงถึง 2,882.2 มิลลิเมตร/ปี แต่กลับขาดแคลนน้ำจืด ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตร และไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค ซึ่งสาเหตุหลักคือ ขาดการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ และขาดแหล่งกักเก็บน้ำจืดไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง
          ชุมชนบ้านเปร็ดในได้ร่วมคิด ร่วมวางแผนกักเก็บน้ำจืดให้อยู่ในพื้นที่ไว้ให้ได้มากและนานที่สุด ในช่วง          ฤดูแล้ง 30-35 วัน และกักเก็บน้ำฝนที่ตกอยู่ในพื้นที่ถึง 8 เดือน ด้วยการบริหารจัดการ ดังนี้

ดักน้ำจืด
          เพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำจืด จากน้ำฝนและน้ำหลากเข้าสู่พื้นที่แก้มลิง โดยนำบ่อกุ้ง บ่อปลา ที่ไม่ได้ใช้งานมาปรับปรุงเป็นสระแก้มลิง รวมทั้งขยายลำรางที่ตื้นเขินต่างๆ ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และปรับพื้นที่เกษตรเป็นร่องสวนกักเก็บน้ำจืดไว้กับชุมชนให้ได้มากที่สุด

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
พัฒนาบ่อกุ้งร้างเป็นสระแก้มลิง เพื่อเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำจืด ได้พื้นที่สาธารณะเป็นแก้มลิง 736 ไร่ เพิ่มปริมาตรกักเก็บน้ำจืดรวม 1,776,505 ลบ.ม.

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ปรับพื้นที่เกษตรเป็นร่องสวน เพื่อกักเก็บน้ำจืดให้อยู่ในพื้นที่และร่องสวนของเกษตรกรให้ยาวนานขึ้น และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในฤดูฝน ระยะทาง 9,776 เมตร พื้นที่ 12.2 ไร่ ความจุ 29,330 ลบ.ม.
ดุลน้ำกร่อย

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
          สร้างสมดุลระบบนิเวศป่าชายเลน เป็นแนวกันชนระหว่างน้ำจืดและน้ำเค็ม เกิดแนวป้องกันการปะทะและกัดเซาะชายฝั่งทะเล (Soft Break)  มีการแบ่งแนวเขตของพรรณไม้ชายเลน 3 ชั้น ระยะทาง 1.8 กิโลเมตร  โดยเริ่มตั้งแต่ติดแผ่นดินจนถึงทะเล ซึ่งถือเป็นแนวกันชนก่อนที่น้ำเค็มจะรุกล้ำเข้าถึงพื้นที่ของชุมชน และระบบรากของพันธุ์ไม้ป่าชายเลน เช่น โกงกาง แสม โปรง ฝาดดอกแดง ตาตุ่มทะเล ฯลฯ เป็นเสมือนเครื่องกรองน้ำเสีย  คัดกรองขยะ ดูดซับมลพิษที่ปะปนมากับน้ำ เป็นการกรองน้ำเสียก่อนที่จะระบายลงสู่ทะเลอีกทางหนึ่ง ทำให้  แหล่งน้ำจืดซึ่งเป็นคลองขนาดสั้น จำนวน 12 คลองที่เชื่อมต่อกับทะเลมีปริมาณน้ำจืดในแผ่นดินเพียงพอและ  ไม่กลายสภาพเป็นน้ำกร่อย ทำให้รอยต่อพื้นที่น้ำกร่อยมีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ และเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
– แก้น้ำเสีย
ในอดีตที่ ชุมชนประสบปัญหาน้ำเสียจากการบุกรุกป่าชายเลนมาทำนากุ้ง ทำให้ป่าชายเลนที่เป็น เครื่องกรองน้ำธรรมชาติถูกทำลาย รวมทั้ง มีน้ำเสียเพิ่มจากการทำนากุ้ง จึงหันมาร่วมกันพื้นที่ป่าชายเลน และกำหนด กฎ กติกา การทำนากุ้งด้วยวิธีธรรมชาติ ห้ามทิ้งเลนกุ้งเข้าสู่แหล่งน้ำสาธารณะ
ดันน้ำเค็ม
ใช้น้ำจืดดันน้ำเค็ม โดยการสร้างฝายและบานประตูเพื่อกักเก็บน้ำจืดเป็นช่วงๆ พร้อมกับการบริหาร ระดับน้ำแนวกันชนน้ำจืดและน้ำเค็ม

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ฝายชะลอน้ำด้วยกระสอบ มีการสร้างฝายชะลอน้ำด้วยกระสอบบริเวณลำรางสาธารณะและร่องสวน เพื่อชะลอและกักเก็บน้ำจืดไว้ในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด จำนวน 49 ฝาย ผู้ได้รับประโยชน์ 458 ครัวเรือน พื้นที่เกษตรกรรม 4,045 ไร่

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
บานปิด – เปิดบริเวณท่อลอด บริเวณรางระบายน้ำสาธารณะ ชะลอการไหลผ่านของน้ำจืด และเป็นการกักเก็บน้ำจืดเป็นช่วงๆ เพื่อป้องกันน้ำเค็มเข้าสู่พื้นที่การเกษตร จำนวน 27 จุด ผู้ได้รับประโยชน์ 392 ครัวเรือน พื้นที่เกษตรกรรม 3,045 ไร่

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นการพัฒนามาจากฝายชะลอน้ำด้วยกระสอบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำจืดบริเวณจุดเชื่อมต่อน้ำเค็ม จำนวน 24 จุด ผู้ได้รับประโยชน์ 401 ครัวเรือน พื้นที่เกษตรกรรม 927 ไร่

ดักน้ำจืด ดุลน้ำกร่อย ดันน้ำเค็ม

          ในอดีต ชุมชนบ้านเปร็ดในมีอาชีพทำนากุ้ง แต่เมื่อป่าชายเลนถูกทำลาย ส่งผลให้ต้องเลิกทำนากุ้ง ในที่สุด คณะกรรมการฯ จึงได้ปรับบ่อกุ้งร้างให้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำสำรอง หรือสระแก้มลิง พร้อมทั้งปรับพื้นที่เกษตรเป็นร่องสวน เพื่อกักเก็บน้ำจืดไว้กับชุมชนให้ได้มากที่สุด และให้น้ำจืดกันน้ำเค็มที่จะเข้าสู่แหล่งกักเก็บน้ำของชาวสวน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดน้ำกร่อย และช่วยเพิ่มระยะเวลาการกักเก็บน้ำจืดในสระประจำสวนให้นานขึ้น รวมถึงการขยายลำรางที่ตื้นเขินต่างๆ ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์จากลำรางในการกักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝนและสามารถระบายน้ำได้เร็วขึ้น
พัฒนาบ่อกุ้งร้างเป็นสระแก้มลิง การกักเก็บน้ำจืดโดยพัฒนาบ่อกุ้งร้างเป็นสระเก็บกักน้ำหรือสระแก้มลิง เพื่อเพิ่มปริมาตรกักเก็บน้ำจืด ดำเนินการในพื้นที่สาธารณะ จำนวน 736 ไร่ เพิ่มความจุในการกักเก็บน้ำจืดได้รวม 1,776,505 ลบ.ม.
ปรับพื้นที่เกษตรเป็นร่องสวน เพื่อกักเก็บน้ำจืดให้อยู่ในพื้นที่ร่องสวนของเกษตรกรเป็นระยะเวลายาวนานขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำในฤดูฝน มีระยะทางการดำเนินงานทั้งสิ้น 9,776 เมตร ในพื้นที่ 12.2 ไร่ สามารถกักเก็บน้ำได้ 29,330 ลบ.ม.

  • ดักน้ำจืด

          ในช่วงฤดูแล้งได้ 30-35 วัน และกักเก็บน้ำฝน โดยใช้พื้นที่สาธารณะและร่องสวนมาเป็นแก้มลิง เพิ่มความจุในการกักเก็บน้ำรวม 1,776,505 ลบ.ม.

  • ดุลน้ำกร่อย

          ระบบรากของพันธุ์ไม้ชายเลนได้ดูดจับออกซิเจนไว้ เพื่อบำบัดให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้น ก่อนจะระบายออกสู่ทะเล ป่าชายเลนที่ชุมชนเฝ้าดูแลมีทั้งหมด 3 ชั้น ระยะทางรวม 1.8 กิโลเมตร

  • ดันน้ำเค็ม

          ใช้น้ำจืดดันน้ำเค็ม โดยการสร้างฝายและบานประตูรวม 100 จุด เพื่อกักเก็บน้ำจืดเป็นช่วงๆ และบริหารระดับน้ำแนวกันชนน้ำจืดและน้ำเค็ม พื้นที่เกษตรกรรมที่ได้ประโยชน์ 8,017 ไร่

เกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ : ระบบสำรองน้ำด้วยนากุ้งร้างและร่องสวน

การจัดการปัญหาของชุมชน
          พื้นที่ร้อยละกว่า 50 ของชุมชนบ้านเปร็ดในเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่ทำสวนผลไม้เป็นหลัก โดยปลูกแบบผสมผสานในแปลงเดียวกัน ได้แก่ เงาะ มังคุด ลองกอง ทุเรียน ลางสาด สละ ระกำ อีกทั้งยังมีการทำสวนยางพาราและปาล์ม เนื่องจากมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นจำนวนมาก
          ชุมชนบ้านเปร็ดในเกิดแนวคิดและรวมกลุ่มดำเนินงานเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่จนประสบความสำเร็จ และขยายผลเพิ่มขึ้นทุกปี โดยได้จัดสรรแปลงเกษตรอย่างเป็นรูปแบบ ใช้พื้นที่เพาะปลูกให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการจัดทำปฏิทินการเกษตรรายปี วางผังการเกษตรรายแปลง จัดวางระบบสำรองน้ำและระบบกระจายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ไม่ทำเกษตรแบบเกินกำลังแต่ให้เกิดผลผลิตที่หลากหลาย เน้นบริโภคเองภายในครัวเรือน แต่หากมีเหลือจึงแบ่งปันเพื่อนบ้านและจำหน่าย ทำให้เกษตรกรลดรายจ่ายเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 24,000 บาท/ครัวเรือน/ต่อปี และเพิ่มรายได้ 36,000 บาท/ครัวเรือน/ต่อปี
          ปัจจุบัน  เกิดตัวอย่างความสำเร็จเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ จำนวน 17 ราย และขยายผลด้วยตนเองจำนวน 118 ราย  มีพื้นที่แก้มลิงที่ปรับจากนากุ้งร้างและร่องสวนจำนวน 893 ไร่ มีปริมาตรกักเก็บน้ำจืดรวม 2,154,232 ลบ.ม. ชาวบ้านในชุมชนบ้านเปร็ดใน เป็นชุมชนอยู่ดีมีสุข ชีวิตพอเพียง

คะแนนเต็ม 4.5 / 5. จำนวนผู้โหวต : 4

ยังไม่มีคะแนนโหวต! เป็นคนแรกที่ให้คะแนนโพสต์นี้