ถังดักไขมันครัวเรือน

รูปแบบถังดักไขมัน

ถังดักไขมันแบบที่ 1

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

ถังดักไขมันแบบที่ 2

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

หลักการทำงานของถังดักไขมัน

  1. น้ำเสียจะผ่านเข้ามาที่ตะกร้าดักเศษอาหาร ซึ่งทำหน้าที่แยกเศษอาหารที่ปะปนมากับน้ำเสีย
  2. น้ำเสียจากขั้นตอนแรกจะไหลผ่านมายังส่วนดักไขมัน โดยไขมันที่แยกตัวออกจากน้ำเสียจะลอยขึ้นเป็นชั้นเหนือน้ำ
  3. น้ำเสียที่อยู่ใต้ชั้นไขมันจะไหลเข้าสู่ถังบำบัดขั้นต่อไป ก่อนปล่อยออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คุณลักษณะเฉพาะของถังดักไขมัน

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่องอเนกประสงค์ หรือกล่องพลาสติก
  • ขนาด 40 x 55 x 30 เซนติเมตร
  • ความจุน้ำเสีย 17 ลิตร
  • ระบบดักไขมัน 1 ชั้น
, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถังสี หรือถังพลาสติก
  • ขนาด 25 x 60* x 42 เซนติเมตร (* ความยาวอาจเพิ่มขึ้นตามความยาวของท่อเชื่อมระหว่างถัง)
  • ความจุน้ำเสีย 14.7 ลิตร
  • ระบบดักไขมัน 2 ชั้น

 

ปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานและเหมาะกับชาวบ้านมากขึ้น โดยปรับปรุงให้ใช้ง่าย      ติดตั้งง่าย สะดวกต่อการดูแลรักษา และราคาถูกลง โดยยังใช้หลักการทำงานเดิม

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

การดูแลรักษาถังดักไขมัน

  1. เศษอาหารและไขมัน ชาวบ้านจะนำเศษอาหารออกจากตะกร้าเมื่อเห็นว่ามีจำนวนมาก และทำการตักไขมันอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง อาจมากหรือน้อยกว่านั้นขึ้นอยู่กับปริมาณไขมันที่ปนอยู่ในน้ำทิ้ง จากนั้นนำเศษอาหารและไขมันไปฝังกลบในดินหรือใต้ต้นไม้ เพื่อเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
  2. การทำความสะอาด ชาวบ้านจะทำการล้างถังดักไขมันประมาณเดือนละ 1 ครั้ง หรือบางบ้านจะล้างทุกครั้งที่ทำการถอดเพื่อตักไขมัน จากนั้นน้ำที่ล้างจะนำไปรดต้นไม้ต่อไป

 

Infographic : ถังดักไขมัน

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คะแนนเต็ม 3.6 / 5. จำนวนผู้โหวต : 8

ยังไม่มีคะแนนโหวต! เป็นคนแรกที่ให้คะแนนโพสต์นี้