อ่างเก็บน้ำห้วยปะยาง ฟื้นฟูป่าต้นน้ำด้วยป่าชุมชน มั่นคงน้ำและอาหาร

17/05/2020

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

ชุมชนบ้านแม่ขมิง เป็นพื้นที่ประสบปัญหา น้ำหลาก น้ำแล้ง เมื่อปี 2544 เกิดอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม  ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงเป็นจำนวนมาก ในปี 2546 กรมชลประทานได้สร้างอ่างเก็บน้ำห้วยปะยางช่วยบรรเทาปัญหาดังกล่าว แต่ปัญหาขาดแคลนน้ำยังคงมีอยู่ ชุมชนจึงเริ่มหันมาร่วมกันฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำลำห้วยปะยาง สร้างฝายชะลอน้ำ ปลูกต้นไม้เสริมพื้นที่ป่า เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในพื้นที่ กำหนดขอบเขตเป็นป่าชุมชน พื้นที่ 389 ไร่

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

ต่อมาในปี 2561 ชุมชนร่วมกับคณะกรรมการเครือข่ายการบริหารจัดการน้ำและเขตจัดการน้ำจังหวัดแพร่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ภายใต้การสนับสนุนของกลุ่มธุรกิจ TCP ดำเนินงานพัฒนาแหล่งน้ำ ตามแนวพระราชดำริ อนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนของอ่างเก็บน้ำ นำแนวคิดการใช้น้ำซ้ำ โดยแบ่งน้ำที่ไหลจากป่าต้นน้ำ ทางหนึ่งไหลลงอ่างเก็บน้ำห้วยปะยาง อีกทางหนึ่งเป็นระบบประปาภูเขา และน้ำส่วนเกินจากระบบประปาภูเขา จะไหลเข้าสู่อ่างเก็บน้ำ นำไปใช้ทำการเกษตรด้านล่างต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำหลาก น้ำแล้ง สร้างความมั่นคงน้ำได้เป้นอย่างดี        

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

ในปี 2562 ป่าชุมชนที่เป็นป่าต้นน้ำของอ่างเก็บน้ำห้วยปะยาง ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ด้านการสืบสาน รักษา ต่อยอด สร้างสุขปวงประชา ประจำปีพุทธศักราช 2562 โดยสำนักงานป่าชุมชน กรมป่าไม้

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

ความสำเร็จของชุมชนบ้านแม่ขมิง นับเป็นตัวอย่างความสำเร็จของการบริหารจัดการน้ำด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามแนวพระราชดำริ ซึ่งมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จะนำตัวอย่างความสำเร็จต่างๆ เหล่านี้มาวิเคราะห์ และขยายผลร่วมกับหน่วยงานภาคเอกชน และประชาชน เพื่อให้ทรัพยากรน้ำมีความมั่นคงและยั่งยืนสืบต่อไป

คะแนนเต็ม 0 / 5. จำนวนผู้โหวต : 0

ยังไม่มีคะแนนโหวต! เป็นคนแรกที่ให้คะแนนโพสต์นี้