การเพาะเมล็ดผักหวานป่า ของชุมชนโนนรัง จ. นครราชสีมา

28/01/2019

, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ , มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

การเพาะเมล็ดผักหวานป่า
นายจันทร์ที ประทุมภา ปราชญ์ชาวบ้าน ชุมชนโนนรัง อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา

สิ่งที่ต้องเตรียม

– เมล็ดผักหวานป่าที่แก่จัด             – ปุ๋ยคอก

– แกลบดิบ,แกลบดำ                     – ปุ๋ยน้ำชีวภาพ

– ดินร่วนซุย                                 – ถุงเพาะขนาด 3*7 นิ้ว

– พลาสติกแผ่นหรือผ้ายาง

วิธีเตรียมดินเพาะผักหวานป่า

  1. นำปุ๋ยคอก แกลบดิบ แกลบดำ และดินร่วนซุย มาผสมให้เข้ากันในอัตราส่วน 1 ต่อ 1
  2. นำปุ๋ยน้ำชีวภาพจำนวน 1 ลิตร ต่อน้ำ 10 ลิตร ผสมให้เข้ากัน แล้วใช้บัวรดน้ำรดน้ำกองปุ๋ยหมักที่เตรียมไว้
  3. นำถุงดำมากรอกถุงที่เตรียมไว้
  4. ใช้ผ้ายางปูพื้นที่ที่จะวางต้นกล้าผักหวานป่าเพื่อป้องกันไม่ให้รากผักหวานป่าลงไปในพื้นดิน

ฤดูกาลเก็บเมล็ดผักหวานป่า

การเก็บเมล็ดผักหวานป่าจะอยู่ในช่วง เดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ของทุกปี

การเพาะเมล็ดผักหวานป่า

ให้นำเมล็ดผักหวานป่ามาบีบให้เปลือกแตกออกเหลือแต่เนื้อและแกน (ในการบีบเมล็ดให้ใส่ถุงมือยาง) เพราะเมล็ดผักหวานป่ามีสารสีขาวที่มีฤทธิ์เป็นกรดสามารถกัดมือจนบางทำให้มีเลือดไหลซิบๆ เกิดขึ้นได้

เมื่อบีบเมล็ดให้เหลือแต่เนื้อและแกนเสร็จแล้ว ให้เทใส่ผ้ายางที่รองไว้ในกะละมังที่มีน้ำใส่ไว้ ทำการรวบผ้ายางนวดให้เนื้อหลุดออกเหลือไว้แต่แกนเมล็ด

เทน้ำในกะละมังทิ้ง นำปูนขาวมาคลุกกับแกนเมล็ดเพื่อป้องกันเชื้อราและแมลงรบกวน แล้วจึงนำไปใส่ลงในถุงเพาะที่มีดินผสมกับแกลบดำ โดยวิธีฝังเพียงครึ่งเมล็ดไม่ต้องกลบดินให้มิด

ช่วงเวลาผ่านไปหลังการเพาะเมล็ด ประมาณ 3-7 วัน เมล็ดผักหวานจะแตกรากคล้ายถั่วงอก รากแหย่ลงลึกมาก ประมาณ 15-25 ซม. ซึ่งรากที่อยู่ช่วงนี้จะค่อนข้างนาน ประมาณ 30-40 วัน จึงจะแทงยอดขึ้นบนดิน การปลูกลงดินอัตราการรอดจะสูงกว่าเพาะในถุง แต่ต้องดูแลให้ดินปลูกมีความชุ่มชื้น

 , มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ , มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

วิธีปลูกผักหวานป่าให้โตเร็ว

ขุดหลุมให้ได้ขนาดกว้าง 50 ซม. ยาว 50 ซม. และลึก 50 ซม. ใส่ฟาง ปุ๋ยคอก แกลบดิบ แกลบดำ และดินร่วนซุย ผสมให้เข้ากัน รดน้ำด้วยปุ๋ยน้ำชีวภาพให้เปียก ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน นำต้นกล้าผักหวานปลูกได้

การปลูกผักหวานป่าสามารถปลูกควบคู่กับพืชชนิดอื่นได้ เช่น ต้นตะขบ ต้นกระท้อน ต้นมะรุม ต้นยางนา ต้นแดง ต้นพยุง  ต้นแค  ต้นน้อยหน่า  ต้นลำไย ต้นเสม็ด

ผักหวานป่า อายุ 2-3 ปี ก็สามารถเก็บผลผลิตได้

การดูแลรักษา

ผักหวานป่าไม่ถูกกับน้ำขัง ฉะนั้นเวลาฝนตกจึงไม่ควรเดินหรือพาสัตว์เลี้ยงไปเดินใกล้ต้นผักหวานในรัศมี 1 เมตร เพราะจะทำให้เกิดหลุมน้ำขัง อย่ารดน้ำแรงๆ ไม่รดน้ำใส่ต้นโดยตรง ให้รดน้ำบริเวณราก และไม่ให้สารเคมีใดๆ

 , มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ , มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

 

คลิปอธิบายการเพาะเมล็ดผักหวาน

คะแนนเต็ม 2 / 5. จำนวนผู้โหวต : 1

ยังไม่มีคะแนนโหวต! เป็นคนแรกที่ให้คะแนนโพสต์นี้