การจัดการน้ำรอดพ้นภัยแล้ง ชุมชนป่าภูถ้ำ ภูกระแต จ.ขอนแก่น
กิจกรรมอาสาสมัครบริหารจัดการน้ำเพื่อชุมชน ศูนย์การเรียนรู้แม่ตาลน้อย ต.เวียงตาล อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรทราชูปถัมภ์ พร้อมด้วย มูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย ได้มีการจัดกิจกรรมอาสาสมัครบริหารจัดการน้ำเพื่อชุมชน ภายใต้โครงการ “ชุมชนแห่งการเรียนรู้และอยู่ดีมีสุข” ณ ศูนย์การเรียนรู้แม่ตาลน้อย ต.เวียงตาล อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง มีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 200 คน ประกอบด้วย กรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรรมการมูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง นายอำเภอห้างฉัตร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงตาล ผู้บริหารและอาสาสมัครพนักงานบริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ผู้แทนหน่วยงานท้องถิ่น ท้องที่ เยาวชนจิตอาสา ชาวบ้านชุมชนแม่ตาลน้อย อาสาสมัครพนักงานสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน.

กรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. กล่าวเปิดกิจกรรม

โดยมี ดร.สุทัศน์ วีสกุล กรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. เป็นประธานในพิธี กิจกรรมในครั้งนี้เป็นการต่อยอดจากกิจกรรมในปีที่ผ่านมา เพื่อขยายการบริหารจัดการน้ำไปยังพื้นที่บริเวณท้ายอ่างแม่ตาลน้อย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเพื่อบำรุงรักษาแหล่งน้ำให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างเต็มที่ เพิ่มความมั่นคงน้ำให้แก่ชุมชนและเป็นตัวอย่างการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตามแนวพระราชดำริแก่ชุมชนใกล้เคียงต่อไป

โครงสร้างทางสังคม เพื่อการบริหารจัดการน้ำ สู่การพัฒนาน้ำที่ยั่งยืน

วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม 2562 มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ สสน. จัดงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริสู่ความยั่งยืน “โครงสร้างทางสังคม เพื่อการบริหารจัดการน้ำ สู่การพัฒนาน้ำที่ยั่งยืน”ณ ห้องประชุมเอนกประสงค์ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ

โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานในพิธีงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริสู่ความยั่งยืนจัดครั้งแรก เมื่อปี 2559 สำหรับงานในปีนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 มีจุดประสงค์เพื่อน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขยายผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน เสริมภูมิคุ้มกันและบริหารจัดการน้ำได้ด้วยตนเอง มีกฎ กติกา ในการบริหารจัดการน้ำ เพิ่มน้ำต้นทุน มีน้ำสำหรับอุปโภค บริโภค และการเกษตร สามารถวางแผนเพาะปลูก เพิ่มผลผลิต และรายได้ เกิดโครงสร้างทางสังคมเพื่อการบริหารจัดการน้ำ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน สมดุล มั่นคง สรุปแนวทางจัดการและปรับตัวอย่างเหมาะสมกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของแต่ละชุมชนที่แตกต่างกัน เพื่อลดความขัดแย้งด้านน้ำ และสร้างฐานชุมชนที่เข้มแข็ง