การจัดการน้ำรอดพ้นภัยแล้ง ชุมชนป่าภูถ้ำ ภูกระแต จ.ขอนแก่น
รับมือภัยแล้งในฤดูฝน บ้านป่าภูถ้ำ ภูกระแต จังหวัดขอนแก่น

คุณเตรียมรับสถานการณ์ภัยแล้งแล้วรึยัง? วันนี้เรามีตัวอย่างการบริหารจัดการน้ำในภาคอีสาน ของชุมชนปาภูถ้ำ ภูกระแต ต.แวงน้อย อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น

สภาพปัญหาในอดีต
พื้นที่ชุมชนบำภูถ้ำประสบปัญหาความแห้งแล้งซ้ำชากมากว่า40ปี และเคยแล้งต่อเนื่องถึง 4ปี แล้วมีฝนตกตาม
ฤดูกาลต่อเนื่อง2ปี แล้วกลับมาแล้งต่อเนื่องอีก4ปีสลับกันเช่นนี้ พื้นที่ชุมชนมีลักษณะสูงต่ำเป็นลอนคลื่น การพัฒนาที่ผ่านมาส่วนใหญ่เริ่มจากขุดดองที่ลอนคลื่นต่ำหรือลำห้วยที่มีอยู่เดิมน้ำจึงไหลไปรวมที่ต่ำหมด การนำน้ำจากที่ต่ำขึ้นที่สูงเพื่อมาใช้ในการอุปโภคบริโภค และเพื่อการเกษตรจึงมีตันทุนสูง

ตัวอย่างการบริหารจัดการน้ำในชุมชนป่าภูถ้ำ ภูกระแต

เพื่อรับภัยแล้งในช่วงหน้าฝนปี พ.ศ. 2562

 “ชุมชนป่าภูถ้ำ ภูกระแต” อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น ในอดีตเป็นพื้นที่แล้งซ้ำซาก และในปี 2562 นี้ ประสบปัญหาฝนน้อย มีปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน 350 มม. อีกทั้งเกิดฝนทิ้งช่วงตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน แต่กลับไม่ประสบปัญหาภัยแล้ง ยังคงมีน้ำเพียงพอสำหรับอุปโภค บริโภค และทำการเกษตร จากแหล่งน้ำในพื้นที่ที่เป็นผลจากความสำเร็จในการบริหารจัดการน้ำชุมชนร่วมกับ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) และมูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์

นอกจากนี้ เกษตรกรในชุมชนได้เรียนรู้ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ และนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการจัดรูป
ที่ดิน เช่น มีการสำรวจพื้นที่เพื่อวางผังแปลง ในพื้นที่ต่ำก็ขุดสระเก็บน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการในรอบการผลิต โดยการขุดสระกองทุนและวางแผนการเพาะปลูกในแต่ละช่วงเวลา ลดพื้นที่ปลูกข้าวให้พอกับการบริโภคในครัวเรือนในรอบปีเท่านั้น เป็นการใช้ที่ดินและน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด และพอเพียงสำหรับเลี้ยงครอบครัว จากเดิมที่ทำเกษตรเชิงเดี่ยว เช่น การปลูกมันสำปะหลัง 1 ไร่ เกษตรกรมีรายได้ 1,500 บาท (ยังไม่หักตันทุน)

หลังจากจัดรูปที่ดินและวางแผนการผลิตใหม่แล้ว เกษตรกรมีรายได้ 200,000 บาทต่อครัวเรือน เมื่อเทียบกับพื้นที่ 1 ไร่เท่ากันในรอบปีการผลิตซึ่งมีเกษตกรที่เปลี่ยนวิถีการผลิตจำนวน 68 ราย มีรายได้จากผลผลิตรวมประมาณ 12 ล้านบาทต่อปีปัจจุบันเกิดการขยายผลด้านการบริหารจัดการน้ำชุมชนในพื้นที่ชุมชนเครือข่ายลุ่มน้ำซี 10 จังหวัด 60 ขุมชน 37 ตำบล 12 อำเภอ ครอบคลุมพื้นที่ 20,000 ไร่ และสามารถบรรเทาปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำชีได้ประมาณ 200,000 ไร่ต่อปี

สถานการณ์ปัจจุบันในพื้นที่

  • มีปริมาณน้ำตันทุนในหนองฝ่ายบ้านสำหรับน้ำอุปโภคสำรอง 45% ประมาณ 56,000 ลูกบาศก์เมตร ใช้ได้ 2 ปี เนื่องจากการระเหยและซึมลงดินถึง 2 เท่าของการใช้
  • น้ำเพื่อการเกษตรมีน้ำต้นทุนในหนองผักหวานประมาณ 50% หรือ 50,000ลูกบาศก็เมตร ปัจจุบันปล่อยน้ำเข้าเติมสระประจำไร่นาแปลงทฤษฎีใหม่ด้านล่าง เพื่อทำเกษตรใช้น้ำน้อย
  • คลองฟ้าประทานชลมีน้ำสำรอง 30% ใช้หล่อเลี้ยงระบบนิเวศ และป่าต้นน้ำ

ความสำเร็จในการบริหารจัดการน้ำแล้งน้ำหลาก บนพื้นที่สูงลอนคลื่น
การบริหารจัดการน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำโดยมีระบบการตักรวบและต้อนน้ำไปสู่ทิศทางที่ต้องการ เดิมเข้าสระใน
รูปแบบขั้นบันไดหรือสระพวงที่ใช้แรงโน้มถ่งเป็นสำคัญเกิดการใช้น้ำซ้ำกว่า 5ครั้ง ป็นการใช้น้ำที่มีดันทุนต่ำหรือไม่ได้ใช้เลย จากนั้นเกษตรกรได้ปรับวิดีการลิตพืชเชิงดียวเป็นเกษตรทฤษฎีไหม่ที่มีการบริหารจัดการน้ำในระดับแปลง มีการจัดรูปที่ดินใหม่เพื่อให้หมาะสมและง่ายต่อการจัดการน้ำในรูปแบบที่ใช้น้ำซ้ำในแปลง เป็นการประหยัดน้ำ ลดต้นทุน เกิดความคุ้มคำและยั่งยืนด้วย