โครงการ “ร่วมมือ ร้อยใจ รอดภัยแล้ง” จ.แพร่
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา นางรอยบุญ รัศมีเทศ กรรมการและรองเลขาธิการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปภัมถ์ คุณอาสา สารสิน ประธานมูลนิธิบัวหลวง คุณวีนัส อัศวสิทธิถาวร เลขานุการคณะกรรมการกิจการสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน SCG และคณะจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้เยี่ยมชุมชนบ้านปากห้วยอ้อย ที่รอดจากภัยแล้งจังหวัดแพร่
พื้นที่ต้นแบบดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินโครงการ “ร่วมมือ ร้อยใจ รอดภัยแล้ง” ที่ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิบัวหลวง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ SCG โดยมีมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. เป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินงาน เพื่อให้ชุมชนสามารถลุกขึ้นแก้ปัญหาภัยแล้งได้ด้วยตนเอง โดยน้อมนำแนวพระราชดำริมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการน้ำของชุมชน จนสามารถรอดพ้นภัยแล้งในปี 2563
ความสำเร็จโครงการ “ร่วมมือ ร้อยใจ รอดภัยแล้ง”
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ที่ผ่านมา มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน., กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.), เอสซีจี, มูลนิธิบัวหลวง และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จัดแถลงความสำเร็จ “ร่วมมือ ร้อยใจ รอดภัยแล้ง” ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ชั้น 3 อาคารอุดมศึกษา 1 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ถนนศรีอยุธยา
โครงการดังกล่าวเป็นโครงการแก้ปัญหาภัยแล้งที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมมือกันสนับสนุนให้ชุมชนลุกขึ้นแก้ปัญหาภัยแล้งด้วยตนเอง โดยน้อมนำแนวพระราชดำริมาเป็นแนวทางบริหารจัดการน้ำของชุมชน จนสามารถรอดพ้นภัยแล้งในปี 2563 ซึ่งรุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปี
เอสซีจีร้อยใจ 108 ชุมชน รอดภัยแล้ง” และ “โครงการบัวหลวงร่วมชุมชนแก้ภัยแล้ง
ด้วยสถานการณ์ภัยแล้งที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่กลางปี 2562 ถึงกลางปี 2563 ประเทศไทยต้องเผชิญกับภัยแล้งรุนแรงมากที่สุดในรอบ 40 ปี มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และภาคเอกชน “เอสซีจีร้อยใจ 108 ชุมชน รอดภัยแล้ง” ร่วมกับบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด และ “โครงการบัวหลวงร่วมชุมชนแก้ภัยแล้ง” ร่วมกับ มูลนิธิบัวหลวงและธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ดำเนินงานแก้ไขภัยแล้ง ร่วมกับ 78 ชุมชนในพื้นที่ 27 จังหวัด ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนกรกฎาคม ปี 2563 ช่วยให้ชุมชนมีน้ำอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตรเพิ่มขึ้นกว่า 10 ล้านลูกบาศก์เมตร มีผู้ได้รับประโยชน์ 13,618 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่เกษตรมากกว่า 19,000 ไร่