ประกาศผลรอบตัดสิน พี่นำน้องรักษ์น้ำฯ

ผ่านมาแล้วกับโครงการพี่นำน้องรักษ์น้ำ ตามแนวพระราชดำริ ปีที่ 9 : สู่ความยั่งยืน รอบตัดสิน ขอแสดงความยินดีกับกลุ่มที่ได้รับรางวัลทั้ง 7 กลุ่มด้วยนะคะ โดยรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ กลุ่มเครือข่ายแกนนำเยาวชนเพาะพันธุ์กล้าไม้ตำบลขุนควร จ.พะเยา รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ โรงเรียนเสริมงามวิทยาคม จ.ลำปาง รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ โรงเรียนคีรีราษฎร์พัฒนา จ.นครศรีธรรมราช และชุมชนลิ่มทอง จ.บุรีรัมย์ และรางวัลชมเชย ได้แก่ กลุ่มพี่นำน้องรักษ์น้ำ ม.นอร์ท-เชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ กลุ่มเรารักษ์เมืองน้ำดำ โรงเรียนกมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ และกลุ่มเยาวชนชุมชนปะทิว รักษ์น้ำ รักษ์ป่า จ.ชุมพร

สำรวจ JWC รอบตัดสิน ร.ร.คีรีราษฎร์พัฒนา จ.นครศรีธรรมราช

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา คณะกรรมการเสริมสร้างและสนับสนุนความเข้าใจในการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ลงพื้นที่สำรวจโครงการ “รักษ์ป่าต้นน้ำปากพนังอย่างยั่งยืน” ที่ดำเนินงานโดยโรงเรียนคีรีราษฎร์พัฒนา จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ผ่านเข้าสู่รอบตัดสินโครงการพี่นำน้องรักษ์น้ำ ตามแนวพระราชดำริ ปีที่ 9 : สู่ความยั่งยืน

โรงเรียนคีรีราษฎร์พัฒนาตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ราบเชิงเขาป่าต้นน้ำปากพนัง ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าที่อยู่ในพื้นที่เขตป่าเขาหลวงอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง จังหวัดนครศรีธรรมราช ป่าต้นน้ำปากพนังเป็นแหล่งต้นน้ำคลองขุนพัง ซึ่งเป็นสายน้ำสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ในอดีตนั้นพื้นที่ป่าต้นน้ำปากพนังดังกล่าวเป็นป่าไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีลำห้วยหลายสายที่ไหลลงสู่คลองขุนพัง แต่ในปัจจุบันป่าดังกล่าวถูกทำลาย ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน ฝนไม่ตกตามฤดูกาลและเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้น้ำในลำธารลดน้อยลง หรือบางแห่งเกิดการขาดแคลนน้ำ ซึ่งส่งผลผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่

การดำเนินโครงการ “รักษ์ป่าต้นน้ำปากพนังอย่างยั่งยืน” เป็นตัวอย่างหนึ่งของการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน และได้สร้างเครือข่ายในการดำเนินงานระหว่าง เครือข่ายชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยสร้างความตระหนักให้นักเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการรักษาป่าต้นน้ำให้คงอยู่สืบต่อไป

สำรวจ JWC รอบตัดสิน ม.นอร์ท-เชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา คณะกรรมการเสริมสร้างและสนับสนุนความเข้าใจในการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ลงพื้นที่สำรวจโครงการ “นวัตกรรมจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชน” โดยกลุ่มพี่นำน้องรักษ์น้ำ ม.นอร์ท-เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ผ่านเข้าสู่รอบตัดสินโครงการพี่นำน้องรักษ์น้ำ ตามแนวพระราชดำริ ปีที่ 9 : สู่ความยั่งยืน

กลุ่มพี่นำน้องรักษ์น้ำ ม.นอร์ท-เชียงใหม่ เข้าไปพัฒนาชุมชนบ้านป่าตึงงามอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ชุมชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและแผนที่มาช่วยในการบริหารจัดการน้ำ นอกจากนี้ได้มีการใช้หลักเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 1 และ ขั้นที่ 2 ซึ่งจะเน้นให้ชุมชนพึ่งพาตนเองจนเกิดการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร และสร้างรายได้ให้กับชุมชน

การดำเนินโครงการ “นวัตกรรมจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชน” เป็นตัวอย่างหนึ่งของการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน และได้สร้างเครือข่ายในการดำเนินงานระหว่าง เครือข่ายชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยได้ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการทำงานในทุกกระบวนการ จนทำให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ สามารถพึ่งพาตนเองได้และเกิดความเข้มแข็งภายในชุมชนอีกด้วย

สำรวจ JWC รอบตัดสิน กลุ่มเครือข่ายแกนนำเยาวชนเพาะพันธุ์กล้าไม้ตำบลขุนควร จ.พะเยา

👉👉เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา คณะกรรมการเสริมสร้างและสนับสนุนความเข้าใจในการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ลงพื้นที่สำรวจโครงการ “เยาวชนฟื้นฟูร่องห้วยด้วยกล้วยป่า ตามแนวพระราชดำริ ปี 9” โดยกลุ่มเครือข่ายแกนนำเยาวชนเพาะพันธุ์กล้าไม้ตำบลขุนควร จังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ผ่านเข้าสู่รอบตัดสินโครงการพี่นำน้องรักษ์น้ำ ตามแนวพระราชดำริ ปีที่ 9 : สู่ความยั่งยืน👈👈

🔷🔹กลุ่มเครือข่ายแกนนำเยาวชนเพาะพันธุ์กล้าไม้ตำบลขุนควร เริ่มดำเนินโครงการจากการสานต่อจากปราชญ์ชาวบ้านที่ได้ฟื้นฟูป่าต้นน้ำเมื่อปี 2554 เป็นต้นมา จากการที่ในอดีตพื้นที่แห่งนี้ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ และป่าเสื่อมโทรมจากการถูกบุกรุก จึงนำพันธุ์ไม้พื้นบ้านอย่างกล้วยป่ามาปลูก เพื่อช่วยฟื้นฟูพื้นที่ต้นนำในพื้นที่ ปัจจุบันหลังจากมีการฟื้นฟูป่าด้วยกล้วยป่าแล้ว ทำให้พื้นที่ป่าลดการเกิดไฟป่า ป่าไม้กลับอุดมสมบูรณ์ ที่สำคัญสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนจากการปลูกกล้วยอีกด้วย🔹🔷

🗨️การดำเนินโครงการ “เยาวชนฟื้นฟูร่องห้วยด้วยกล้วยป่า ตามแนวพระราชดำริ ปี 9” เป็นตัวอย่างหนึ่งของการทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มเยาวชนแกนนำในชุมชน ซึ่งมีรุ่นพี่โครงการพี่นำน้องรักษ์น้ำฯ ในรุ่นที่ 1 ให้คำแนะนำและคำปรึกษา เพื่อสร้างจิตสำนึกและรู้ถึงประโยชน์ของการฟื้นฟูร่องห้วยด้วยกล้วยป่า พร้อมกับสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของชุมชนไปพร้อมกัน..

สำรวจ JWC รอบตัดสิน กลุ่มเยาวชนชุมชนปะทิวรักษ์น้ำ รักษ์ป่า จ.ชุมพร

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา คณะกรรมการเสริมสร้างและสนับสนุนความเข้าใจในการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ลงพื้นที่สำรวจกลุ่มเยาวชนชุมชนปะทิวรักษ์น้ำ รักษ์ป่า จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ผ่านเข้าสู่รอบตัดสินโครงการพี่นำน้องรักษ์น้ำ ตามแนวพระราชดำริ ปีที่ 9 : สู่ความยั่งยืน

กลุ่มเยาวชนชุมชนปะทิวรักษ์น้ำ รักษ์ป่า ดำเนินงานโดยได้แนวคิดจากการที่เยาวชนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของแหล่งน้ำ และป่าต้นน้ำในพื้นที่ จึงเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ต้นน้ำ โดยการปลูกพืชที่เหมาะสม ร่วมสำรวจพันธุ์ไม้พื้นถิ่น โดยมีชุมชนเป็นพี่เลี้ยง ทั้งนี้เพื่อให้ชุมชนและเยาวชนเกิดการเรียนรู้ร่วมกันและได้อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้มีความยั่งสืบต่อไป

สำรวจ JWC รอบตัดสิน ร.ร.เสริมงามวิทยาคม จ.ลำปาง

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการเสริมสร้างและสนับสนุนความเข้าใจในการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ลงพื้นที่สำรวจโครงการ “แก้ปัญหาภัยแล้งลุ่มน้ำแม่ต๋ำ อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง” โดยกลุ่มเยาวชนละอ่อนลุ่มน้ำแม่ต๋ำ โรงเรียนเสริมงามวิทยาคม จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ผ่านเข้าสู่รอบตัดสินโครงการพี่นำน้องรักษ์น้ำ ตามแนวพระราชดำริ ปีที่ 9 : สู่ความยั่งยืน

กลุ่มเยาวชนละอ่อนลุ่มน้ำแม่ต๋ำ เริ่มดำเนินโครงการหลังจากพื้นที่ป่าต้นน้ำมีความแห้งแล้งและเสื่อมโทรม ทำให้ชุมชนใกล้เคียงประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ และเกิดปัญหาภัยแล้งกระจายทั่วอำเภอเสริมงาม ด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้กลุ่มฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาข้างต้น จึงนำแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในเรื่องการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ โดยการสร้างฝายชะลอน้ำตามลำห้วยหลัก เพื่อชะลอการไหลและลดความรุนแรงของกระแสน้ำ ลดการพังทลายของดินและดักจับตะกอน และเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ดิน นอกจากนี้ได้มีการปลูกหญ้าแฝกบริเวณรอบอ่างเก็บน้ำห้วยหลวง เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดินและปรับหน้าดินที่เสื่อมโทรมให้กลับมาอุดมสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพขึ้น

ดร. รอยบุญ รัศมีเทศ ชมนิทรรศการ

การดำเนินโครงการ “แก้ปัญหาภัยแล้งลุ่มน้ำแม่ต๋ำ อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง” เป็นตัวอย่างหนึ่งของการทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน และได้ขยายเครือข่ายการทำงานไปยัง โรงเรียนอนุบาลเสริมงาม โรงเรียนชุมชนบ้านมั่ว และโรงเรียนบ้านทุ่งต๋ำ สร้างจิตสำนึกและรู้ถึงประโยชน์ของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพร้อมกับสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของชุมชนไปพร้อมกัน

คณะกรรมการฯ เยี่ยมชมนิทรรศการ
สำรวจ JWC รอบตัดสิน ร.ร กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์

👉👉เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการเสริมสร้างและสนับสนุนความเข้าใจในการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ลงพื้นที่สำรวจโครงการ “ฝายสร้างป่า ป่าสร้างคน ชุมนุมมั่งคั่ง ป่ายังยืน” โดยกลุ่มเรารักษ์เมืองน้ำดำ โรงเรียนกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ผ่านเข้าสู่รอบตัดสินโครงการพี่นำน้องรักษ์น้ำ ตามแนวพระราชดำริ ปีที่ 9 : สู่ความยั่งยืน👈👈

🔶🔸กลุ่มเรารักษ์เมืองน้ำดำ เริ่มดำเนินโครงการจากที่ได้เล็งเห็นถึงความเสื่อมโทรมของป่า ป่าถูกบุกรุก ความรุนแรงของการเกิดไฟป่า รวมถึงคนในชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รอบป่าเข้าไปหาประโยชน์จากป่า โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา ส่งผลให้ทรัพยากรในป่าลดน้อยลงและบางชนิดก็สูญพันธุ์ ด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้กลุ่มฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาข้างต้น จึงนำแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในเรื่องการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ โดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผืนป่า นอกจากนี้ ได้พัฒนาพื้นที่ต้นแบบให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่ชุมชนและเยาวชนรอบป่าอีกด้วย🔸🔶

✨การดำเนินโครงการ “ฝายสร้างป่า ป่าสร้างคน ชุมชนมั่งคั่ง ป่ายังยืน” เป็นตัวอย่างหนึ่งของการทำงานร่วมกันระหว่างโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง ชุมชน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน สร้างจิตสำนึกและรู้ถึงประโยชน์ของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพร้อมกับสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของชุมชนไปพร้อมกัน✨🤝

ประกาศผลพี่นำน้องรักษ์น้ำ ตามแนวพระราชดำริ ปีที่ 9 : สู่ความยั่งยืน

📢มาแล้วๆ สิ่งที่ทุกคนรอคอย ประกาศผลการคัดเลือกกลุ่มเยาวชนโครงการพี่นำน้องรักษ์น้ำ ตามแนวพระราชดำริ ปีที่ 9 : สู่ความยั่งยืน (เข้าสู่รอบตัดสิน) 🧑‍🤝‍🧑👭👫

ยินดีกับกลุ่มเยาวชนที่ผ่านรอบคัดเลือกทั้ง 8 กลุ่มด้วยนะคะ 👏👏กลุ่มที่ไม่ผ่านเข้ารอบตัดสิน ไม่ต้องเสียใจนะคะ ทางมูลนิธิฯ ให้โอกาสไปเรียนรู้ร่วมกัน 🙂😆 ว่าแต่…จะเป็นที่ไหน วันไหน สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ทางเพจมูลนิธิฯ ต่อไปค่ะ🤟🤟